Page 72 - kpi12821
P. 72

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                        1.3  การยุบพรรคการเมืองเป็นการทำลายตัวกลางเชื่อมโยง

                           ระหว่างรัฐกับประชาชน

                             หน้าที่สำคัญของพรรคการเมืองในสังคมประชาธิปไตยประการหนึ่งก็คือ

                                                                            12
                   การเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างรัฐกับประชาชน (Political Linkage)  หรืออีกนัยหนึ่ง
                   “เชื่อมระหว่างประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย (Sovereign) กับผู้ใช้อำนาจ
                                          13
                   ดังกล่าวแทนประชาชน”  โดยการระดมความคิดความเห็น สร้างเป็นเจตนารมณ์
                   ทางการเมือง มุ่งเข้าสู่อำนาจรัฐเพื่อผลักดันเจตนารมณ์ดังกล่าวให้สัมฤทธิ์ผล


                             ฉะนั้น การยุบพรรคการเมือง แม้เป็นพรรคการเมืองเล็กๆ ก็ย่อมกระทบ
                   ต่อหน้าที่สำคัญของพรรคการเมืองในข้อนี้ และยิ่งเมื่อใดก็ตามที่เป็นการยุบ

                   พรรคการเมืองขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ซึ่งมีสมาชิกพรรคเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
                   ราษฎร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง พรรคการเมืองซึ่งกำลังทำหน้าที่ตัวกลางเชื่อมระหว่างรัฐ
                   กับประชาชนในระบบการเมืองอย่างเป็นทางการ การยุบพรรคการเมืองดังกล่าวเพียง
                   เพราะการกระทำผิดกฎหมายของคนไม่กี่คน แม้ว่าจะเป็นการกระทำผิดร้ายแรง เช่น

                   ทุจริตซื้อสิทธิขายเสียง ทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมโดย
          0        กรรมการบริหารพรรคบางคน ก็เป็นการทำลายตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับประชาชน และ

                   ยิ่งไปกว่านั้น การยุบพรรคการเมืองเพราะการกระทำผิดเล็กๆ น้อยๆ เช่น เพราะไม่ส่ง
                   รายงานการดำเนินกิจการพรรคการเมืองหรือรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุน เพราะ

                   รายงานไม่ถูกต้อง ล่าช้า หรือใช้จ่ายเงินสนับสนุนไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งๆ ที่
                   ผู้ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือผู้กระทำผิดเป็นกรรมการบริหารพรรคเพียงหนึ่งหรือสองคน
                   ก็ยิ่งเท่ากับเป็นการทำลายตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างไร้เหตุผลยิ่ง 14


                      12   ไม่ว่าจะเป็นตัวเชื่อมในด้านการมีส่วนร่วม (Participatory Linkage) ตัวเชื่อมในด้านการตอบสนองความ
                   ต้องการเชิงนโยบาย (Policy-Responsive Linkage) ตัวเชื่อมในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ (Linkage by
                   Reward) และตัวเชื่อมในการกำหนดทิศทางของรัฐต่อ(เหนือ)ประชาชน (Directive Linkage); โปรดดู Kay
                   Lawson, “Political Parties and Linkage,” ใน Kay Lawson (ed.), Political Parties and Linkage: A
                   Comparative Perspective, (New Haven: Yale University Press, 1980), น. 13 – 14; และโปรดดู
                   Richard H. Pildes, “The Legal Structure of Democracy,” ใน Keith E. Whittington et. al. (ed.), The
                   Oxford Handbook of Law and Politics, (New York: Oxford University Press, 2010) น. 322 – 325.
                      13   Eckart Klein และ Thomas Giegerich, เรื่องเดิม, น. 159.

                      14   โปรดดู คำวินิจฉัยหลายฉบับของนายมานิต วิทยาเต็ม ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในคดียุบพรรคหลายคดีที่
                   พยายามสื่อสารหลักการข้อนี้ อาทิ คดีพรรคเกษตรกร - ศร. ที่ 51/2546 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2546 [รจ. ล. 121
                   ต.58ก (7 กันยายน 2547) น. 1 – 85] น. 43 – 44; คดีพรรคสันติภาพ - ศร. ที่ 23/2546 ลงวันที่ 17 มิถุนายน
                   2546 [รจ. ล. 121 ต.19ก (22 มีนาคม 2547) น. 1 – 74] น. 41 เป็นต้น.
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77