Page 70 - kpi12821
P. 70

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                             สภาพการณ์ดังกล่าวเป็นผลจากการยุบพรรคการเมืองตามหลักเกณฑ์

                   ที่สวนทางกับหลักการอันเป็นที่ยอมรับระดับสากลในรัฐประชาธิปไตยดั้งเดิมทั้งหลายที่
                   มุ่งรักษาความหลากหลายในสังคมซึ่งต่างก็มีมาตรการคุ้มครองมิให้พรรคการเมืองขนาด
                                      6
                   เล็กล่มสลายไปโดยง่าย  ดังนั้น การยุบพรรคการเมืองไทยที่ผ่านมาในหลายๆ กรณี จึงมี
                   ผลเป็นการลดทอนความหลากหลายในสังคมการเมืองไทย    7


                        1.2  การยุบพรรคการเมืองเท่ากับเป็นการปิดกั้นโอกาสใน
                           การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชนใน

                           ฐานะผู้สมัคร ส.ส.

                             พรรคการเมืองถือเป็นช่องทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่

                   สำคัญยิ่ง ทั้งในด้านการสร้างเจตจำนงทางการเมืองร่วมกันของประชาชน และในด้าน
                   การคัดเลือกและส่งตัวแทนเข้าแข่งขันในสนามการเมืองหรือการเลือกตั้ง ในสนาม
                   การเมืองแบบเปิดคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปสามารถเข้าสู่สนามการเมืองโดยการเป็น

                   ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ได้โดยง่าย เพราะไม่มีเงื่อนไขบังคับให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง
                                                                                           8
                      6   ตัวอย่างเช่น คดี Brown v. Socialist Workers ’74 Campaign Committee 459 U.S. 87 (1982) ซึ่ง
                   ศาลฎีกาสหรัฐตัดสินว่า กฎหมายของมลรัฐโอไฮโอที่กำหนดให้การบริจาคให้แก่พรรคการเมืองหรือคณะกรรมการ
                   หาเสียงของพรรคการเมืองต้องเปิดเผยเงินบริจาคนั้น ไม่อาจนำมาใช้บังคับกับกรณีพรรคแรงงานสังคมนิยมได้
                   เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็กที่เคยเผชิญกับการคุกคามจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน เพราะการเปิด
                   เผยชื่อผู้บริจาคดังกล่าว จะทำให้ผู้บริจาคไม่กล้าที่จะบริจาค อันเป็นการสะท้อนว่าผู้นั้นนิยมชมชอบหรือฝักใฝ่ใน
                   แนวคิดของพรรคการเมืองซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ
                      7   สภาพปัญหาการเมืองไทยก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 คือ พรรคการเมืองมีจำนวนมากเกินไป และ ส.ส.
                   กระจายไปในหลายพรรคการเมือง ทำให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรค ส่งผลให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ
                   รัฐธรรมนูญและกฎหมายพรรคการเมืองฉบับก่อนหน้านั้นจึงพยายามจำกัดจำนวนพรรคการเมือง โดยการบังคับให้
                   ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองเพื่อพัฒนาการเมืองไทยก้าวไปสู่ “รูปแบบการเมืองแบบพรรคเด่นพรรคเดียว” โปรดดู
                   ลิขิต ธีรเวคิน, พรรคการเมืองและการพัฒนาการเมืองไทย, (กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสำเนา, สถาบันวิจัยของ
                   สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย, 2526) น. 6 – 7; อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยกลับเห็นพ้องกับบทวิเคราะห์ของ
                   ศาสตราจารย์ ดร. กนก วงศ์ตระหง่าน ที่ว่า “การแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ต้องรักษาไว้” และ
                   “จำนวนพรรคการเมืองไม่ได้เป็นสาเหตุของปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองเสมอไป” โปรดดู กนก วงศ์ตระหง่าน,
                   พรรคการเมืองไทย, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536), น. 338 – 339; และการวิเคราะห์
                   ภายหลังการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ก็เป็นเช่นเดียวกัน โปรดดู รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, เรื่องเดิม, น. 35 – 36.
                      8   คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองได้ตั้ง
                   ข้อสังเกตว่า “สิทธิของบุคคลในการลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นไม่ควรจะถูกจำกัดอย่างไร้เหตุผลโดยการบังคับให้
                   ผู้สมัครต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือพรรคการเมืองใดโดยเฉพาะเจาะจง” โปรดดู ¶17 General Com
                   ment No. 25: The right to participate in public affairs, voting rights and the right of equal access
                   to public service (Art. 25) : . 07/12/1996. <CCPR/C/21/Rev.1/Add.7>
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75