Page 71 - kpi12821
P. 71
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
การยุบเลิกพรรคการเมืองอาจมิได้กระทบต่อโอกาสในการมีส่วนร่วมทางการเมือง
โดยตรงของประชาชนมากเท่าใดนัก เพราะประชาชนทั่วไปสามารถลงสมัครเลือกตั้ง
9
ด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องผ่านพรรคการเมือง แต่กระนั้นก็ดี ด้วยความที่ข้อมูลเกี่ยวกับ
ผลการเลือกตั้งในสังคมประชาธิปไตยทั้งหลายบ่งชี้ว่า ประชาชนมักนิยมเลือกผู้สมัคร
10
จากพรรคการเมือง และมีผู้สมัครอิสระชนะการเลือกตั้งน้อยมาก ดังนั้น จึงอาจ
วิเคราะห์ได้ว่า การยุบพรรคการเมืองกลายเป็นการปิดกั้นโอกาสที่ประชาชนจะมี
ส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงในฐานะผู้สมัครเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่มีเจตจำนง
ตรงกันกับเจตจำนงของตนและของประชาชนที่สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น
ขณะที่สนามการเมืองแบบปิดเช่นกรณีของไทยคือ ผู้สมัคร ส.ส. ต้องสังกัด
พรรคการเมืองเท่านั้น พรรคการเมืองจึงเป็นเพียงช่องทางเดียวที่ประชาชนจะมี
11
ส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงในฐานะผู้สมัครได้ การยุบพรรคการเมืองจึงเท่ากับ
เป็นการปิดกั้นโอกาสที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงในฐานะผู้สมัคร
ส.ส. ของพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์หรือเจตนารมณ์ทางการเมืองตรงกับแนวทาง
ของตน
9 อนึ่ง เพื่อประกันว่า ผู้สมัคร ส.ส. เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในระดับหนึ่ง บางประเทศจึงมี
การกำหนดให้ผู้สมัคร ส.ส. แบบอิสระต้องมีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนหนึ่งลงชื่อรับรอง แต่ทั้งนี้ จำนวน
ดังกล่าวจะต้องไม่มากจนกลายเป็นการลิดรอนสิทธิในการเป็นผู้สมัคร (Right to be a candidate) หรือสิทธิใน
การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Right to Political Participation) ของประชาชนจนเกินสมควร; ผู้สนใจกรณีศึกษา
ของอเมริกันเปรียบเทียบเยอรมัน โปรดดู Samuel Issacharoff และ Richard H. Pildes, “Politics as
Markets: Partisan Lockups of the Democratic Process,” Stanford Law Review, (Vol. 50, No. 3,
Feb. 1998, น. 643 - 717) น. 694 – 695.
10 ยกเว้นในประเทศที่องค์กรพรรคการเมืองอ่อนแออย่างมากและใช้ระบบเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว
(อาจเป็นระบบผสมแบบสัดส่วนก็ได้) ผู้สมัครอิสระอาจได้รับเลือกตั้งในสัดส่วนที่สูง เช่น ยูเครน (ประมาณ 1 ใน 4
ของสมาชิกสภา) รัสเซีย (ประมาณ 1 ใน 6) โปรดดู Pippa Norris, “Recruitment,” ใน Richard S. Katz และ
William Crotty (ed.), Handbook of Party Politics, (London: SAGE publication, 2006) น. 91.
11 “การบังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองมีผลในการสร้างทำนบกีดขวางการเข้าสู่ตลาดการเมือง...
แม้จะบังคับใช้มาตรการนี้มาเป็นเวลายาวนาน ก็หาได้ช่วยให้พรรคการเมืองมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น และหาได้
เกื้อกูลให้มีเสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้นแต่ประการใดไม่” และ “กระบวนการคัดสรรตัวแทนพรรคกลายเป็น
กลไกสกัดกั้นการเข้าสู่ตลาดการเมือง” โปรดดู รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, เรื่องเดิม, น. 31 และ น. 53 โดยลำดับ.