Page 83 - kpi12821
P. 83
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
2550 ในหลายๆ ข้อเป็นฐานในการสั่งยุบพรรคการเมืองมาแล้วก็ตาม แต่ศาลรัฐธรรมนูญ
ก็ยังไม่เคยวินิจฉัยในประเด็นปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติเหตุ
ยุบพรรคการเมืองเหล่านั้น และที่สำคัญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่เคย
เข้าสู่กระบวนการควบคุมการตรากฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญก่อนการ
ประกาศใช้กฎหมาย (Pre-promulgation Review of Constitutionality) ตาม
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 141 แต่อย่างใด 41
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่า อาจมีการเสนอคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของเหตุยุบพรรคการเมืองที่บัญญัติไว้กฎหมาย
พรรคการเมือง โดยผ่านช่องทางผู้ตรวจการแผ่นดินตามมาตรา 245 (1) คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามมาตรา 257 (2) หรือแม้แต่การฟ้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ตามมาตรา 212 ได้ 42
2.2 พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศ
ไทยเป็นภาคีและบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบพรรค
การเมือง
1
แม้ว่าสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่รัฐไทยเป็นภาคีมิได้มีสภาพบังคับ
โดยตรงในระบบกฎหมายและศาลไทย จนกว่าจะได้มีการตราพระราชบัญญัติอนุวัติการ
(Implementing Law) ตามทฤษฎีทวินิยม (Dualism) อันเป็นทฤษฎีว่าด้วยความ
43
41 พ.ร.ป. การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550 และ พ.ร.ป. คณะกรรมการการเลือกตั้ง 2550
ก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เพราะถือว่าเป็นร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จำเป็นต่อการบังคับใช้รัฐธรรมนูญในระยะ
เริ่มแรก และจัดทำขึ้นตามบทเฉพาะกาล มาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ประกอบกับมาตรา 30 ของ
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 จึงได้รับยกเว้นกระบวนการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแบบบังคับตาม
รัฐธรรมนูญมาตรา 141 ทั้งนี้ เป็นไปตามของรัฐธรรมนูญ 2550 ตามมาตรา 305 (3).
42 ณ ปัจจุบัน (กันยายน 2553) ยังไม่มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาล
รัฐธรรมนูญ; แต่ทั้งนี้ โปรดดู ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ
21 และคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 39/2551 คือ ต้องได้พยายามโต้แย้งผ่านช่องทางตามมาตรา 245 (1) ผู้ตรวจการ
แผ่นดิน และตามมาตรา 257 วรรคหนึ่ง (2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้ว.
43 ส่วนทฤษฎีเอกนิยม (Monism) ถือว่า กฎหมายระหว่างประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกฎหมาย
ภายใน เมื่อสนธิสัญญาได้รับการให้สัตยาบันโดยถูกต้องแล้ว สนธิสัญญาดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเสมือนหนึ่งเป็น
กฎหมายภายในโดยทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีการออกฎหมายอนุวัติการ และเมื่อมีข้อพิพาทไปสู่ศาล ศาลก็
สามารถนำเนื้อความในสนธิสัญญามาบังคับใช้โดยตรงกับข้อเท็จจริงในคดีได้; โปรดดู บวรศักดิ์ อุวรรณโณ,
กฎหมายมหาชน เล่ม 3: ที่มาและนิติวิธี, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2538), น. 55–73; ยิ่งไปกว่านั้น ศาลไทยก็เคย
อ้างถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นเหตุผลประกอบการพิพากษาคดี (น่าจะเทียบได้
ในฐานะ Persuasive Authority) แม้มิใช่ในฐานะบทกฎหมายที่ศาลใช้บังคับแก่คดีก็ตาม โปรดดู คำพิพากษาศาล
ปกครองกลางที่ 607 - 608 / 2549 วันที่ 16 พฤษภาคม 2549.