Page 84 - kpi12821
P. 84
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
สัมพันธ์ของกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐธรรมนูญไทยยึดถือมา
โดยตลอด แต่ระบบกฎหมายและศาลไทยก็สมควรเคารพและดำเนินการตามสนธิ
44
สัญญาที่รัฐไทยเป็นภาคี มิเช่นนั้น ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ อาจถือได้ว่ารัฐไทย
45
ละเมิดพันธกรณีดังกล่าว นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.
2549 ระบบกฎหมายไทยเคยยกเว้นทฤษฎีทวินิยมโดยการรับรองให้สิทธิและเสรีภาพ
ของประชาชนตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคีมีผลใช้
46
บังคับโดยตรงในระบบกฎหมายไทย และยิ่งไปกว่านั้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
มาตรา 257 (2) ก็ให้อำนาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถเสนอความเห็น
ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้วินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
และมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ได้อีกด้วย
สิ่งที่บรรยายมาข้างต้นสะท้อนว่า ณ ปัจจุบัน รัฐไทยได้ยอมรับให้หลัก
กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเป็นที่มาของกฎหมาย (Sources of Law)
ประเภทหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญอาจนำมาใช้เป็นฐานในการพิจารณาพิพากษาคดีได้ 47
อย่างไรก็ดี การที่รัฐธรรมนูญ 2550 บัญญัติไว้ดังเช่นเนื้อความในมาตรา
257 นี้ หมายความว่า แม้รัฐไทยจะยอมรับให้หลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศเป็นหนึ่งในที่มาของกฎหมาย แต่การที่ศาลไทยจะนำมาใช้วินิจฉัยตัดสินคดีได้
44 โปรดดู ร.ธ.น. 2550, ม. 190; ร.ธ.น. 2540, ม. 224; ร.ธ.น. 2534, ม. 178; ร.ธ.น. 2521, ม. 162;
ร.ธ.น. 2517, ม. 195; ร.ธ.น. 2511, ม. 150; ร.ธ.น. 2475 แก้ไข 2495, ม. 192; ร.ธ.น. 2492, ม.154; ร.ธ.น.
ชั่วคราว 2490, ม. 84; ร.ธ.น. 2489, ม.76; ร.ธ.น. 2475, ม. 54.
45 อนึ่ง ด้วยเหตุที่รัฐไทยมิได้ลงนามและให้สัตยาบันที่จะผูกพันตามพิธีสารทางเลือกฉบับที่ 1 (First
Optional Protocol) ซึ่งเปิดช่องให้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Committee – HRC) ตาม
ICCPR พิจารณาและทำความเห็นเกี่ยวกับคำร้องส่วนบุคคล (Individual Complaints) ได้ ดังนั้น ปัจเจกชนจึงไม่
อาจยื่นคำร้องให้ HRC พิจารณาข้อร้องเรียนว่ารัฐไทยละเมิดสิทธิเสรีภาพในประการต่างๆ ตาม ICCPR ได้; โปรดดู
เว็ปไซต์ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (HRC) ที่ <http://www.ohchr.org/english/bodies/hrc/
index.htm>; และโปรดดู Dominic McGoldrick, The Human Rights Committee: Its Role in the
Development of the International Covenant on Civil and Political Rights, (Oxford:
Clarendon Press, 1991) น. 120 – 127.
46 ร.ธ.น. 2549, ม. 3 [รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549] บัญญัติว่า
“ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคบรรดาที่ชน
ชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้”
47 ศาลอื่นก็เช่นกัน กรณีศาลปกครอง ดูมาตรา 257 (3) กรณีศาลยุติธรรม ดูมาตรา 257 (4) แต่ทั้งนี้
ตามตัวบทไม่รวมถึงศาลทหาร