Page 87 - kpi12821
P. 87
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
อนึ่ง ด้วยเหตุที่รัฐไทยมิได้ตั้งข้อสงวนใดๆ เกี่ยวกับบทบัญญัติต่างๆ ที่กล่าว
56
มาข้างต้น ดังนั้น การยุบพรรคการเมืองจึงถือเป็นการลิดรอนเสรีภาพของสมาชิก
พรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคที่ไม่เพียงแต่อาจจะละเมิดข้อ 22 เท่านั้น
หากแต่ยังอาจขัดต่อข้อ 25 และข้อ 19 ของ ICCPR ด้วยก็ได้ นอกจากนี้ ในส่วนการ
ดำเนินคดีของศาลก็ยังต้องเคารพต่อสิทธิที่จะนำคดีไปสู่ศาล (The Right of Access to
a Court) และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม (Right to a Fair Trial) ตาม
ข้อ 14 อีกด้วย 57
2.3 ปัญหาเชิงหลักการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและ
กฎหมาย
เหตุสิ้นสภาพพรรคการเมืองและเหตุยุบพรรค กระบวนการ และผลของ
การยุบพรรคการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญกฎหมายพรรคการเมือง และ
กฎหมายเลือกตั้งของไทยนั้น มีปัญหาในเชิงหลักการ ทั้งจากมุมมองในมิติรัฐศาสตร์
ที่เกี่ยวกับระบบพรรคการเมืองและระบบการเมืองไทย และจากมุมมองในมิตินิติศาสตร์
ทั้งในประเด็นปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและความสอดคล้องกับหลักกฎหมาย
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และจากมุมมองในมิติความเหมาะสมของนิตินโยบาย
(Legal Policy) ซึ่งเป็นจุดเชื่อมประสานระหว่างมิติทั้งสอง ดังจะได้มีการวิเคราะห์โดย
ละเอียดในบทต่อๆ ไป แต่ทั้งนี้ หากประมวลสรุปชั้นต้นแล้ว สามารถจำแนกปัญหาใน
เชิงหลักการของการยุบพรรคการเมืองไทยออกได้เป็นสามกลุ่มย่อยๆ ดังนี้
2.3.1 เหตุแห่งการสิ้นสภาพพรรคการเมือง ได้แก่ (ก) เหตุที่ไม่สามารถ
ดำเนินการจัดหาสมาชิกได้ไม่น้อยกว่า 5,000 คน กระจายไปในทุกภาค และจัดตั้งสาขา
พรรคในทุกภาค 4 ภาค 4 สาขา ภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้ง
การจัดตั้งพรรคการเมือง (ข) เหตุที่มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึงห้าพันคน เป็นระยะเวลา
56 โปรดดู เว็ปไซต์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ <http://www.nhrc.or.th/menu_content.
php?doc_id=29>
57 นอกจากนี้ ตราสารสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคอื่นๆ เช่น อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งอเมริกา
(American Convention on Human Rights) ข้อ 16, กฎบัตรแอฟริกันว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และประชาชน
(African Charter on Human and Peoples’ Rights) ข้อ 10, อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (European
Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms - ECHR) ข้อ 11
ต่างก็ได้รับการตีความเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณี ECHR
นั้นมีบรรทัดฐานที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์กฎหมายไทยได้เป็นอย่างดี งานวิจัยนี้จึงจะพิจารณา
หลักกฎหมายตามแนวบรรทัดฐานของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปประกอบด้วย.