Page 80 - kpi12821
P. 80
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
2. ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและการละเมิด
พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ของการยุบพรรคการเมือง
การยุบพรรคการเมืองไม่เพียงแต่จะนำมาซึ่งปัญหาต่อระบบพรรคการเมืองและ
ระบบการเมืองของไทยดังกล่าวไว้ในหัวข้อที่ผ่านมา หากแต่ยังมีปัญหาความชอบด้วย
รัฐธรรมนูญและเสี่ยงต่อการละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่
ประเทศไทยเป็นภาคีอีกด้วย ในการนี้ ผู้วิจัยได้จำแนกปัญหาดังกล่าวออกเป็นสองกรณี
ได้แก่ กรณีแรก มีปัญหาเกี่ยวกับหลักการที่นำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย
พรรคการเมือง และกฎหมายเลือกตั้ง และกรณีที่สอง หลักการที่บัญญัติไว้มิได้เป็น
ปัญหา หากแต่การใช้และการตีความของนายทะเบียน กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ
ต่างหากที่นำมาซึ่งปัญหา
อนึ่ง ในเบื้องต้น เห็นสมควรอธิบายหลักพื้นฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบความชอบ
ด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนเฉพาะใน
ประเด็นที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
2.1 การควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ
บทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
จริงอยู่ ศาลรัฐธรรมนูญไทยเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การกำหนดให้ศาล
รัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยสั่งยุบพรรคการเมืองด้วยเหตุยุบพรรคการเมืองในเรื่องอื่นๆ
นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 63 ซึ่งระบุไว้แต่เฉพาะกรณีที่
พรรคการเมืองกระทำการอันเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดย
วิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
2540 และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญยังได้วินิจฉัยต่อไปอีกว่า เหตุแห่งการยุบ
35
พรรคการเมืองตามมาตรา 66 (2) (3) และ (4) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
35 กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประเด็นปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไปแล้วก็คือ การออกพระราชบัญญัติ
เพิ่มเติมอำนาจให้แก่ศาลรัฐธรรมนูญนอกเหนือจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่; โปรดดู
ศร. ที่ 6/2541 ลงวันที่ 29 กันยายน 2541 [รจ. ล. 115 ต. 66ก (29 กันยายน 2541) น. 1 – 43] น. 3 – 4:
คดีพรรคมวลชนยุบรวมเข้ากับพรรคความหวังใหม่; ศร. ที่ 28/2544 ลงวันที่ 6 กันยายน 2544 [รจ. ล.119
ต.38ก (26 เมษายน 2545) น. 65 – 112] น. 66 – 67: คดียุบพรรคเสรีธรรมเข้ากับพรรคไทยรักไทย.