Page 93 - kpi12821
P. 93
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
ตัดสินใจว่าพรรคจะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคการเมืองใดหรือไม่ กำหนดตัวบุคคลที่จะ
เป็นรัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรค และตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ของพรรค แม้ว่าผู้วิจัยจะ
ไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคการเมืองแทบทุกคดีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ไม่ว่าเจตนาของผู้มี
อำนาจดังกล่าวจะถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและครรลองประชาธิปไตยหรือไม่ แต่
ผู้วิจัยก็ตระหนักดีว่า สภาพข้อเท็จจริงเช่นนี้สะท้อนรูรั่ว-ช่องโหว่ของกฎหมาย
เหตุผลก็คือ ลองสมมุติข้อเท็จจริงว่า มีพรรคการเมืองที่มุ่งสร้างระบอบเผด็จการ
ขวาจัด ทำนองเดียวกับพรรคนาซีเกิดขึ้นในวงการเมืองไทย และได้ถูกศาลสั่งยุบไป หาก
ต่อมา แกนนำพรรคการเมืองดังกล่าวยังคงมีอำนาจในการครอบงำกิจการบ้านเมืองผ่าน
พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ เช่นนี้ ย่อมเป็นตัวอย่างที่บ่งชี้ถึงการขาดไร้มาตรการที่ทำให้
การยุบพรรคการเมืองเกิดสภาพบังคับที่แท้จริงในกฎหมายไทย แต่ทั้งนี้ มิได้หมายความ
ว่า ผู้วิจัยเสนอให้มีการจำกัดลิดรอนสิทธิเสรีภาพทางการเมืองในประการอื่นๆ เช่น
เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของบรรดาผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอันเป็น
ผลสืบเนื่องจากการยุบพรรคการเมืองแต่อย่างใด
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมีความเห็นในชั้นต้นว่า สมควรศึกษาแนวทางการนำ
มาตรการห้ามองค์กรแทนที่มาบัญญัติไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองของ 1
ไทยด้วย แต่ก็ควรจำกัดไว้แต่เฉพาะกรณีพรรคการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐและล้มล้าง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยจริงๆ เท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้พร่ำเพรื่อ ดังเช่นเหตุ
ยุบพรรคการเมืองของไทยที่กำหนดไว้อย่างกว้างขวางเกินสมควร เพราะมิเช่นนั้นแล้ว
มาตรการห้ามมีองค์กรแทนที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลายพรรคการเมือง และทำร้าย
ระบบพรรคการเมืองและระบบการเมืองไทยในระยะยาวจนยากเกินเยียวยาก็เป็นได้