Page 96 - kpi12821
P. 96
ฤาเสียงของประชาชนจะมีความหมายในการจัดทำงบประมาณของ อบต.?
1. ข้อมูลพื้นฐาน
1.1 โครงสร้างทางการเมือง
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นรัฐรวม ประกอบด้วย 16 มลรัฐ (Länder–
1
2
State) โดยมีสหพันธ์ (Bund – Federal) เป็นรัฐที่มีอำนาจเหนือมลรัฐ (Oberstaat)
การปกครองของสหพันธ์มีระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา (Parliamentary System) 3
บทบาทหน้าที่สำคัญในทางบริหารจึงตกเป็นของหัวหน้าฝ่ายบริหารคือ นายกรัฐมนตรี
(Bundeskanzler - Federal Chancellor) ส่วนประธานาธิบดี (Bundespräsident -
Federal President) ซึ่งเป็นประมุขแห่งสหพันธ์รัฐมีบทบาทหน้าที่หลักหนักไปในทาง
พิธีการเท่านั้น รัฐบาลของสหพันธ์ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับเลือกจากสภาผู้
4
แทนราษฎรแห่งสหพันธ์โดยคำแนะนำของประธานาธิบดี ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย
5
ทางการเมืองและเป็นผู้รับผิดชอบทางการเมือง และรัฐมนตรีของสหพันธ์
(Bundesminister- Federal Minister) ซึ่งแต่งตั้งและถอดถอนโดยประธานาธิบดีตาม
คำแนะนำของนายกรัฐมนตรี มีอิสระในการบริหารงานภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่
1 จำแนกย่อยได้เป็น 3 นครรัฐ (Stadtstaaten– City-states) และ 13 มลรัฐ (Flächenländer– Area
states)
2 GG, §24 และ §79 [Grundgesetz für die Bundesrepublik Deutschland–Articles 24 and
79 of the Basic Law for the Federal Republic of Germany] ซึ่งหากแปลตามรูปศัพท์จะได้ความหมายว่า
“กฎหมายพื้นฐาน” (Basic Law) แต่ในงานวิจัยชิ้นนี้จะเรียก Basic Law ว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นหลัก โปรดดู
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, คำอธิบายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ: รัฐธรรมนูญเยอรมัน, (กรุงเทพฯ:
เรือนแก้วการพิมพ์, 2535), น. 174 – 184.
3 GG, §63, §67, §68, และ §39; เรื่องเดียวกัน, น. 112.
4 GG, §54 และ §59; ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมแห่งสหพันธ์ (Bundesversamml
ung – Federal Convention) ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหพันธ์ (Bundestag) และสมาชิกอื่น
ในจำนวนที่เท่ากันซึ่งเลือกตั้งโดยรัฐสภาของมลรัฐ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และอาจดำรงตำแหน่งใหม่
ได้อีก 1 วาระ; โปรดดู บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิม, น. 72 – 76.
5 GG, §62, §63, และ §65.