Page 99 - kpi12821
P. 99

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                          1.2  ระบบพรรคการเมือง


                               ระบบพรรคการเมืองของประเทศเยอรมนีจัดว่าอยู่ในระบบหลายพรรค    17
                    (Multi-party System) หากจำแนกตามจำนวนพรรคที่แข่งขันในสนามการเมือง
                                                                  18
                    โดยอาศัยเกณฑ์การจัดกลุ่มของ Maurice Duverger  และใกล้เคียงกับระบบหลาย
                    พรรคสองขั้วการเมือง (Bipolarized Multi-party System) หากพิเคราะห์จากสภาพ
                    การแข่งขันและการจับกลุ่มทางการเมืองตามแนวทางของ Giovanni Sartori  ในสภา
                                                                                    19
                    ผู้แทนราษฎรปัจจุบันอันเป็นชุดที่ 17 พรรคการเมืองที่ครองเสียงข้างมากในสภาคือ
                    กลุ่มพรรคคริสเตียนประชาธิปไตย (Christlich - Demokratische Union – Christian

                    Democratic Parties) ใช้ชื่อย่อว่า CDU/CSU อันประกอบด้วยพรรคคริสเตียน
                    ประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี (Christian Democratic Union of Germany – CDU)
                    และพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยแห่งบาวาเรีย (Christian Social Union of Bavaria
                    – CSU) มีจำนวน ส.ส. 239 ที่นั่ง และเมื่อร่วมกับพรรคเสรีประชาธิปไตย (Free

                    Democratic Party – FDP) ที่มี ส.ส. 93 ที่นั่ง จึงสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมสองพรรค
                    โดยมี Angela Merkel ประธานพรรค CDU ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในขณะที่
                    พรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี (Sozialdemokratische Partei
                    Deutschlands - Social Democratic Party of Germany หรือ SPD) อันเป็น

                    พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในรัฐสภาเยอรมันและเป็นพรรคคู่แข่งกับพรรค CDU/CSU
                    นั้น ได้ ส.ส. เพียง 146 ที่นั่ง นอกจากนี้ ในสภายังมี ส.ส. จากพรรคฝ่ายซ้าย
                    (Linkspartei – The Left Party) 76 ที่นั่ง และพรรคพันธมิตร 90/เขียว (Bündnis 90/




                       17   นับการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1949 ประเทศเยอรมันมีรัฐบาลผสม
                    มาโดยตลอด ไม่เว้นแม้แต่ในช่วงที่พรรค CDU/CSU ครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์ โปรดดู
                    Helmut Steinberger, “Political Representation in Germany,”ใน Paul Kirchhof and Donald P.
                    Kommers, Germany and Its Basic Law, (Badan-Badan: Nomos Verlagsgesellschaft, 1993), น. 139.
                       18    Maurice Duverger, แปลโดย Barbara and Robert North, Political Parties: Their
                    Organization and Activity in the Modern State, (London: Methuen & Co.Ltd., 3  edition,
                                                                                     rd
                    1967), น. 206–280.
                       19    Giovanni Sartori, Parties and Party System: A Framework for Analysis, (Cambridge:
                    Cambridge University Press, 1976), น. 35 – 45 และ 116 – 128; Manfred G. Schmidt อธิบายว่า เดิม
                    เยอรมนี (ตะวันตก) เป็นระบบหลายพรรคสายกลาง (Moderate Pluralism) แต่หลังจากการรวมเยอรมันตะวัน
                    ออกเข้ากับตะวันตกแล้ว ระบบพรรคการเมืองกำลังมุ่งเข้าใกล้ระบบหลายพรรคสองขั้วการเมือง (Polarized
                    Pluralism) โปรดดู Manfred G. Schmidt, Political Institutions in the Federal Republic of
                    Germany, (New York: Oxford University Press, 2003), น. 137-138.
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104