Page 103 - kpi12821
P. 103
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
สถานะเป็นนิติบุคคล 30
ดังนั้น พรรคการเมืองในเยอรมนีจึงอาจจำแนกคร่าวๆ ได้เป็นสองกลุ่ม
ได้แก่ พรรคการเมืองที่เป็นสมาคมจดทะเบียน (Registered Association) ซึ่งเป็น
นิติบุคคล และพรรคการเมืองที่เป็นการรวมกลุ่ม (สมาคม) ที่ไม่จดทะเบียน
(Unregistered Association) ซึ่งไม่เป็นนิติบุคคล แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าพรรคการเมืองจะเป็น
นิติบุคคลหรือไม่ พรรคการเมืองต่างก็มีสิทธิฟ้องร้อง ถูกฟ้องร้อง และดำเนินกระบวน
พิจารณาคดีในชั้นศาลได้ตามที่กฎหมายพรรคการเมืองบัญญัติรับรองไว้เป็นการเฉพาะ
31
และยังต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน (BGB) ว่าด้วยสมาคม
อีกด้วย 32
ส่วนกฎหมายพรรคการเมืองเยอรมันฉบับปัจจุบันนั้น (Parteiengesetz –
PartG) ประกาศใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมา โดยได้รับการ
ปรับปรุงครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1994 และแก้ไขเพิ่มเติมครั้งล่าสุดเมื่อปลายปี ค.ศ. 2004
แบ่งเนื้อหาออกเป็น 8 หมวด อันได้แก่ หมวดทั่วไปบัญญัติเกี่ยวกับสถานะและหน้าที่
ตามรัฐธรรมนูญของพรรคการเมือง บทนิยามพรรคการเมือง สิทธิในการฟ้องคดีของ
พรรคการเมือง ชื่อพรรคการเมือง และความเสมอภาคของพรรคการเมือง หมวดที่สอง 1
ว่าด้วยโครงสร้างภายในของพรรคการเมืองโดยมุ่งเน้นให้กระบวนการตัดสินใจต่างๆ
ภายในพรรคสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยภายในพรรคการเมือง (Intra-party
Democracy) หมวดสามเป็นเรื่องการเสนอชื่อผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคการเมือง หมวดสี่
เกี่ยวกับการอุดหนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ หมวดห้าว่าด้วยความรับผิดชอบเกี่ยวกับการ
เงินของพรรคการเมือง หมวดหกกำหนดกระบวนการในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ
ของบัญชีการเงินของพรรคการเมือง หมวดเจ็ดบัญญัติไว้เฉพาะในเรื่องการบังคับให้เป็น
ไปตามคำวินิจฉัยที่ประกาศให้พรรคการเมืองมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และหมวดแปดบท
ส่งท้ายเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บทเฉพาะกาล และวันที่
กฎหมายมีผลใช้บังคับ
30 BGB, §21 [Bürgerliches Gesetzbuch–Section 21 of the Civil Code] และ บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ,
เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 33.
31 PartG, §3.
32 <http://www.bundeswahlleiter.de/en/europawahlen/rechtsgrundlagen/
parteiengesetz.html> ยกเว้นมาตรา 54 วรรคสองของประมวลกฎหมายแพ่ง; PartG, §37; อย่างไรก็ดี
แม้ศาสตราจารย์ ดร. บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ อธิบายไว้ว่า พรรคการเมืองเยอรมัน “ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง
บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยสมาคม” แต่ผู้วิจัยเข้าใจว่า ท่านหมายความถึงกฎหมายว่าด้วยสมาคม
(Vereinsgesetz) หาใช่ประมวลกฎหมายแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสมาคมไม่ โปรดเทียบ บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ,
เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 65.