Page 100 - kpi12821
P. 100
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
Die Grünen–Alliance’90/The Greens) อีก 68 ที่นั่ง 20
เยอรมนีเป็นเช่นเดียวกับทุกประเทศประชาธิปไตยอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง
หลายที่เผชิญกับปัญหาความโปร่งใสในเรื่องการเงินของพรรคการเมือง จนต้องมีการ
21
ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด แม้กฎหมายพรรคการเมืองฉบับปัจจุบันที่
จัดว่าก้าวหน้ามาก ก็ยังมีข้อบกพร่องดังที่นักวิชาการหลายท่านเสนอความเห็นไว้ อาทิ
การไม่จำกัดวงเงินบริจาคซึ่งอาจทำให้ผู้บริจาคเงินรายใหญ่มีอิทธิพลเหนือ
พรรคการเมือง มาตรการหลายอย่างที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความโปร่งใสเกี่ยวกับการ
เงินของพรรคการเมืองยังขาดสภาพบังคับ การหลีกเลี่ยงมาตรการให้เปิดเผยการบริจาค
แก่พรรคการเมืองต่อสาธารณะโดยบริจาคให้แก่ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
22
แทน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมือง เป็นต้นว่า
สมาชิกธรรมดาของพรรคการเมืองไม่ได้มีบทบาทในการกำหนดตัวผู้สมัคร ส.ส. ในนาม
ของพรรคมากเท่าที่ควร 23
ปัญหาสำคัญของระบบพรรคการเมืองเยอรมัน ณ ปัจจุบันซึ่งที่เกี่ยวพัน
โดยตรงกับงานวิจัยชิ้นนี้ คือ ความพยายามกลับเข้าสู่สนามการเมืองของกลุ่มขวาจัด
และกลุ่มนาซีใหม่ (neo-Nazi) โดยอาศัยเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการ
จัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเป็นเกราะป้องกันการปราบปราม
จากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคหลังจากการรวมประเทศเยอรมัน (German
reunification) ในปี ค.ศ. 1990 กลุ่มนาซีใหม่กลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะ
24
ในหมู่วัยรุ่นในเขตอดีตเยอรมันตะวันออก แม้ว่าพรรคสังคมนิยมชาติเยอรมัน หรือ
20 <http://www.bundestag.de/htdocs_e/bundestag/elections/results/index.html> ผู้สนใจ
เกี่ยวกับพัฒนาการพรรคการเมืองในเยอรมนี โปรดดู บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, การเลือกตั้งและพรรคการเมือง:
บทเรียนจากเยอรมัน, (กรุงเทพฯ: สุขุมและบุตร, 2542), น. 46 – 57.
21 ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, “การอุดหนุนเงินให้พรรคการเมืองโดยรัฐและการควบคุมเงินบริจาค: การ
ปรับปรุงระบบของ ประเทศไทยโดยศึกษาเปรียบเทียบกับระบบของประเทศเยอรมัน,” วารสารนิติศาสตร์, ฉบับ
ที่ 34 เล่มที่ 3 (กันยายน, 2547), น. 417; และ บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 74 – 87.
22 ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, เรื่องเดิม, น. 419, 420 – 422; และ Martin Morlok and Thilo Streit,
“Germany,” ใน Thomas D. Grant (ed.), Lobbying, Government Relations And Campaign
Finance Worldwide, (USA, Oxford University Press, 2005), น. 138 – 140.
23 บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 35.
24 อาชญากรรมและเหตุรุนแรงต่อผู้อพยพและชาวต่างชาติหลายสิบครั้งนั้น ทางการเยอรมันสรุปว่าเป็น
ฝีมือของกลุ่มนาซีใหม่ เช่น ในช่วงทศวรรษที่ 1990 มีการโจมตีค่ายผู้อพยพและแรงงานต่างด้าวในเมือง
Hoyerswerda การฆ่าเด็กหญิงชาวตุรกี 3 คนและการวางเพลิงที่เมือง Mölln การเผาบ้านชาวตุรกีที่เมือง