Page 104 - kpi12821
P. 104
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
อนึ่ง นอกเหนือจากกฎหมายพรรคการเมืองแล้ว ยังมีกฎหมายเลือกตั้งแห่ง
สหพันธ์ที่กำหนดเกี่ยวกับการเสนอชื่อผู้สมัคร ส.ส. ในนามของพรรคการเมือง และมี
33
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์อีกนับสิบฉบับที่วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับ
พรรคการเมืองไว้ อาทิ สิทธิขั้นพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญของพรรคการเมือง ความเสมอ
ภาคทางโอกาสของพรรคการเมือง การเงินของพรรคการเมือง การอุดหนุนพรรค
การเมือง ฯลฯ 34
2. บทนิยาม เอกสิทธิ์ และการสิ้นสุดสถานะ
“พรรคการเมือง”
ในบรรดาการรวมกลุ่มทางการเมืองทั้งหลาย ทั้งที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคม
และที่ไม่เป็นสมาคม ไม่ว่าจะเรียกชื่อกลุ่มของตนว่า “พรรค” (Partei) หรือไม่ก็ตาม
เฉพาะแต่การรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะต้องด้วยบทนิยามคำว่า “พรรคการเมือง”
ที่กำหนดไว้ในกฎหมายพรรคการเมืองเท่านั้นจึงจะมีเอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญในแง่ที่ว่า
จะถูกยุบเลิกได้ก็แต่โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์เท่านั้น องค์กรอื่น
35
ไม่อาจสั่งยุบพรรคการเมืองได้ ฉะนั้น ในชั้นนี้ จึงจำเป็นต้องศึกษาบทนิยาม
36
พรรคการเมืองดังกล่าวเสียก่อน
33 BWG, §21; EuWG, §§ 8 – 9 [Europawahlgesetz–Section 8 and 9 of the European
Elections Act]
34 บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 69 – 87. และ Jörn Ipsen, “Political Parties and C
onstitutional Institutions”, ใน Christian Starck (ed.), Studies in German Constitutionalism,
(Munich: NomosVerl.-Ges., 1995), น. 205 – 213.
35 บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 65; Paul Franz, “Unconstitutional and
Outlawed Political Parties: A German – American Comparison,” Boston College International
and Comparative Law Review, Vol. 5 No. 1 (1982), น. 63 – 66; Dan Gordon, “Limits on
Extremist Political Parties: A Comparison of Israeli Jurisprudence with that of the United States
and West Germany,” Hastings International and Comparative Law Review, Vol. 10 (1986 –
1987) น. 374; นอกจากนี้ เดิม ศาลรัฐธรรมนูญเคยถือว่าพรรคการเมืองเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เสนอคำร้อง
เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ โปรดดู บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดียวกัน, น. 63 – 64, 69;
Jörn Ipsen, เรื่องเดิม, น. 200, 211 – 213; และ Donald P. Kommers, เรื่องเดิม, น. 201.
36 บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 65; Paul Franz, เรื่องเดิม, น. 62 – 64; และ Dan
Gordon, เรื่องเดิม, น. 374.