Page 105 - kpi12821
P. 105
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
2.1 บทนิยามพรรคการเมือง
ประโยคแรกของมาตรา 2 (1) แห่งกฎหมายพรรคการเมืองบัญญัติไว้ว่า
“พรรคการเมือง คือ การรวมกลุ่มของพลเมืองอย่างถาวรหรือเป็นระยะเวลานานๆ
เพื่อเข้าไปมีอิทธิพลต่อการสร้างเจตจำนงทางการเมือง ไม่ว่าจะดำเนินการในระดับ
สหพันธ์หรือในระดับมลรัฐ และประสงค์ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในสภาผู้แทนราษฎร
แห่งสหพันธ์ หรือสภาแห่งมลรัฐ หากว่าเมื่อพิจารณาถึงภาพรวมตามสภาพความ
เป็นจริงทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่จำนวนสมาชิก และในแง่การปรากฏตัวต่อ
สาธารณชนแล้วชี้ชัดว่าการรวมกลุ่มนี้มีความตั้งใจจริงที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้า
หมายที่ได้วางไว้” ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์เคยวินิจฉัยรับรองแล้วว่า บทนิยาม
37
ดังกล่าวสอดคล้องกับความในมาตรา 21 (1) ของรัฐธรรมนูญที่รับรองสถานะ
38
พรรคการเมือง
อนึ่ง จากบทนิยามดังกล่าวอาจจำแนกองค์ประกอบของความเป็น
39
พรรคการเมืองได้ 3 ข้อดังนี้
(1) พรรคการเมืองเป็นการรวมกลุ่มของพลเมือง ซึ่งจำกัดไว้แต่เฉพาะ
บุคคลธรรมดาเท่านั้นที่จะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ 40
(2) พรรคการเมืองเป็นการรวมกลุ่มที่มีลักษณะถาวรหรือเป็นระยะเวลา
นานๆ โดยพิจารณาจากการจัดองค์กร กล่าวคือ ต้องมีคณะกรรมการ
บริหารพรรค มีข้อบังคับพรรค มีสาขาพรรค โดยในแต่ละสาขาก็ต้อง
มีกรรมการบริหารสาขา เพื่อประกันการดำเนินงานอย่างมีแบบแผน
และเป็นรากฐานในการชักชวนบุคคลให้เข้าเป็นสมาชิกพรรค 41
37 คำแปลนี้นำมาจาก บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 66; ผู้สนใจเหตุผลว่าทำไมเฉพาะแต่
บุคคลธรรมดาเท่านั้นที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ โปรดดู ณรงค์เดช สรุโฆษิต, “ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ
บทนิยามพรรคการเมือง”, เว็บไซต์เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย [www.pub-law.net] วันอาทิตย์ที่ 14
กุมภาพันธ์ 2553.
38 BVerfGE 24, 260 (263), อ้างถึงใน Jörn Ipsen, เรื่องเดิม, น. 201.
39 อนึ่ง การมีอุดมการณ์และนโยบายสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ มิใช่องค์ประกอบของความเป็น
พรรคการเมือง หากแต่เป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ประกาศว่าพรรคการเมืองดังกล่าวไม่ชอบด้วย
รัฐธรรมนูญและสั่งยุบพรรคได้ โปรดดู บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 66.
40 PartG, §2 (1).
41 บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 68; PartG, §§ 6 – 16.