Page 107 - kpi12821
P. 107

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    ดังกล่าว แต่ประการใด 46


                               นอกจากนี้ ในคดีหนึ่งเกี่ยวกับความผิดอาญาในฐานองค์กรที่มิชอบด้วย
                    กฎหมาย ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า เป้าหมายและกิจกรรมของพรรคการเมืองหนึ่งเป็น

                    ปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ และตัดสินลงโทษผู้กระทำผิด แต่ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์
                    กลับวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลใช้บังคับแก่คดีขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา
                    21 (2) ที่รับรองเอกสิทธิ์ของพรรคการเมือง ถึงแม้ในกฎหมายดังกล่าวจะมีบทบัญญัติ
                    ระบุว่า หากองค์กรที่ศาลได้วินิจฉัยไปนั้นคือ “พรรคการเมือง” จะดำเนินการลงโทษ
                    ผู้กระทำความผิดได้ ก็ต่อเมื่อหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ได้ประกาศความ

                    ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองนั้นแล้วก็ตาม ก็ย่อมถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ
                    เช่นเดียวกัน เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ตัดสินความผิดและพิพากษาให้ลงโทษไปแล้วก่อน
                    วันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย สมมุติว่าแม้ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญประกาศว่า

                    พรรคการเมืองดังกล่าวมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่กรณีเช่นนี้ก็เท่ากับว่า มีการใช้
                    บังคับ กฎหมายย้อนหลังเพื่อเอาผิดในทางอาญา (ex post facto criminal law) นั่นเอง 47

                               ในทางตรงกันข้าม หากเป็นความผิดอาญาในฐานที่มีองค์ประกอบความผิด

                    ครบถ้วนในตัวเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การประกาศว่าพรรคการเมืองมิชอบด้วย
                    รัฐธรรมนูญมิใช่เงื่อนไขหรือองค์ประกอบความผิด เช่น ความผิดฐานกบฏ (Treason)
                    เช่นนี้ อาจมีการดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำความผิดได้ แม้ว่าการกระทำความผิด
                    ดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพรรคการเมืองที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกก็ตาม และ

                    ไม่ต้องคำนึงว่าได้มีการดำเนินคดีเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สั่งยุบพรรค
                                     48
                    การเมืองนั้นหรือไม่  เช่นเดียวกันกับการพิจารณาทางปกครองบางอย่างเช่น การรับ
                    บุคคลเข้าเป็นข้ารัฐการ อาจนำสถานะความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหัวรุนแรง
                    มาประกอบการพิจารณารับเข้าทำงานได้ แม้ศาลจะยังมิได้ประกาศให้พรรคการเมืองนั้น

                    มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ตาม
                                           49
                       46   BVerfGE 40, 287 (292 – 293); BVerfGE 39, 357 (360) อ้างถึงใน Paul Franz, เรื่องเดิม, น. 64 –
                    65; และ Donald P. Kommers, เรื่องเดิม, น. 224.
                       47   BVerfGE 12, 296; อ้างถึงใน Paul Franz, เรื่องเดิม, น. 65 – 66.

                       48   BVerfGE 9, 162 (164 – 166) อ้างถึงใน Paul Franz, เรื่องเดิม, น. 65 และ David P. Currie,
                    เรื่องเดิม, น. 219 ในเชิงอรรถที่ 204.
                       49   BVerfGE 39, 359 อ้างถึงใน Paul Franz, เรื่องเดิม, น. 65; อย่างไรก็ดี แม้มีข้อโต้แย้งว่า การนำสถานะ
                    สมาชิกพรรคการเมืองเพียงอย่างเดียวมาถือเป็นเหตุตัดสิทธิ์ผู้สมัครเป็นข้ารัฐการถือเป็นการละเมิดเอกสิทธิ์ของ
                    พรรคการเมืองในลักษณะหนึ่งแต่ศาลก็เห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 33 (2) เปิดช่องให้รัฐพิจารณารับ-ไม่รับบุคคล
                    เข้าดำรงตำแหน่งสาธารณะ โดยการประเมินทัศนคติ (Attitude) ของบุคคลนั้นๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความ
                    สมัครใจของบุคคลนั้นๆ ที่จะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ; โปรดดู Karl Doehring, เรื่องเดิม, น. 42 – 43.
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112