Page 313 - kpi12821
P. 313
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
โดยตรง แต่ก็มีแนวบรรทัดฐานที่เทียบเคียงกับการตีความรัฐธรรมนูญให้มีผลเป็นการ
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคทุกคนได้ว่า ไม่สอดคล้องกับกติกา
ดังกล่าว กล่าวคือ ในคดี Jorge Landinelli Silva et.al. v. Uruguay นั้น
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Committee)
ได้วินิจฉัยว่า การเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกรรมการและสมาชิกพรรคการเมือง
ฝ่ายนิยมลัทธิมารก์ซิสต์ที่ถูกยุบไป เป็นระยะเวลา 15 ปีนั้น ไม่เพียงแต่เป็นเพราะระยะ
เวลายาวนานเกินไป ขัดต่อหลักความได้สัดส่วนเท่านั้น หากแต่ยังถือเป็นการใช้บังคับ
กฎหมายโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงเฉพาะราย จึงย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในการมีส่วน
ร่วมทางการเมืองที่รับรองไว้ในข้อ 25 ของกติกาดังกล่าว 135
4. บทวิเคราะห์ความเหมาะสมของการกำหนดให้มี
เหตุยุบพรรคการเมืองข้อนี้
อันที่จริง การวิพากษ์วิจารณ์การใช้และการตีความเหตุยุบพรรคข้อนี้โดยศาล
รัฐธรรมนูญอาจจะไม่เป็นธรรมเท่าใดนักสำหรับศาล ก็ในเมื่อรัฐธรรมนูญมีเนื้อความ 1
บทบัญญัติเช่นนั้น อ่านออกเสียงตามรูปลักษณ์อักษร ก็ได้ความเช่นนั้น ค้นคว้าบันทึก
เจตนารมณ์การร่างรัฐธรรมนูญ ก็ยิ่งพบว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญมีความประสงค์เช่นนั้น ศาล
รัฐธรรมนูญจึงจำเป็นต้องตีความไปในทำนองนั้นด้วย ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่า ปัญหา
ที่แท้จริงในเรื่องนี้คือ ความไม่เหมาะสมของหลักการยุบพรรคการเมืองตามมาตรา 237
วรรคสอง
4.1 ความไม่เหมาะสมในด้านหลักการ
เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของต่างประเทศและบรรทัดฐานของศาล
สิทธิมนุษยชนระหว่างระหว่างประเทศแล้ว พบว่า รัฐอาจใช้อำนาจรัฐเข้าไปสลายการ
รวมกลุ่มในรูปพรรคการเมืองอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยได้
ก็ต่อเมื่อ พรรคการเมืองเป็นปฏิปักษ์ต่อการดำรงอยู่ของรัฐ พรรคการเมืองเป็นปฏิปักษ์
ต่อระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการอันเป็นสารัตถะพื้นฐานของ
ประชาธิปไตย (Substantive Democratic Principles) เช่น หลักการคุ้มครองสิทธิ
135 Human Rights Committee, Communication No. 34/1978 of 8 April 1981 [CCPR/C/12/
D/34/1978. (Jurisprudence)], § 8.4; <http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/0/f10e81351f2b8152
c1256ab20044fb61?Opendocument>