Page 308 - kpi12821
P. 308

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                             นิติวิธีการตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่กลุ่ม 5 คณาจารย์เสนอไว้ข้างต้น

                   นั้น เป็นนิติวิธีที่ได้รับการยอมรับโดยองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการของนานาอารยประเทศ
                   อาทิ ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันได้อธิบายไว้ในคดีหนึ่งว่า “ไม่มีบทบัญญัติมาตราหนึ่ง
                   มาตราใดในรัฐธรรมนูญที่อาจจะแบ่งแยกออกจากบริบทโดยรอบและถูกตีความ
                   เฉพาะแต่เนื้อความของบทบัญญัตินั้นๆ ได้” ทั้งนี้ “บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแต่ละ
                   มาตราล้วนแล้วแต่ต้องตีความในลักษณะที่จะทำให้ผลการตีความบทบัญญัติ

                                                                            116
                   ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ”  นอกจากนี้ ใน
                   บรรดาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญทั้งหลายนั้น บทบัญญัติที่รองรับคุณค่าพื้นฐานย่อมมี
                   สภาพบังคับเหนือกว่าบทบัญญัติอื่นๆ และบทบัญญัติใดที่มีสถานะต่ำกว่าก็ย่อมต้อง

                   ตีความหรือบังคับใช้ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่มีสถานะสูงกว่า 117

                             นิติวิธีการตีความเช่นนี้ เรียกกันในทางตำราว่า “การตีความในเชิง

                   โครงสร้างกฎหมาย” (Structural Interpretation) ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญของ
                                                                                120
                                               119
                   แอฟริกาใต้  ศาลฎีกาของอินเดีย  และศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาก็ใช้  หรือแม้แต่
                            118
                   ศาลรัฐธรรมนูญไทย ก็เคยใช้ในการวินิจฉัยว่า พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศา-
                   นุวงศ์ชั้นสูงไม่มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญใช้ถ้อยคำว่า

                   “บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง” โดยในเรื่องนี้ ศาลรัฐธรรมนูญให้คำอธิบายไว้ว่า

                            “...พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้อำนาจอธิปไตยแล้ว จึงย่อมไม่มีเหตุผลใดที่จะ
                      ต้องมีหน้าที่เลือกผู้แทนมาเพื่อใช้อำนาจนั้นอีก... [ส่วน– เพิ่มโดยผู้เขียน] พระราชินี
                      พระรัชทายาท และพระบรมราชวงศ์ซึ่งจะควรสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล
                      ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพระมหา


                      116   BVerfGE 14, 32 (1) [Southwest State Case] อ้างถึงใน Donald P. Kommers, เรื่องเดิม, น. 199.
                      117   David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 218 – 219.

                      118   Heinz Klug, “South Africa: From Constitutional Promise to Social Transformation,” ใน
                   Jeffrey Goldsworthy, Interpreting Constitutions – A Comparative Study, (New York: Oxford
                   University Press, 2007) น. 301 – 302.

                      119    S. P. Sathe, “India: From Positivism to Structuralism,” ใน Jeffrey Goldsworthy,
                   Interpreting Constitutions – A Comparative Study, (New York: Oxford University Press, 2007)
                   น. 242 – 248.

                      120   เช่น คดี McCulloch v. Maryland (1819) 17 US 316 และคดี National League of Cities  v.
                   Usery (1976) 426 US 833; โปรดดู Donald P. Kommers, เรื่องเดิม, น. 199; และ Mark Tushnet, “The
                   United States: Eclecticism in the Service of Pragmatism,” ใน Jeffrey Goldsworthy, Interpreting
                   Constitutions – A Comparative Study, (New York: Oxford University Press, 2007) น. 30 – 32.
   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313