Page 305 - kpi12821
P. 305

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                                                                         108
                    ไม่เข้าไปควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจกึ่งตุลาการของ กกต.  ซึ่งกรณีเช่นนี้ ย่อม
                    เท่ากับเป็นการปฏิเสธสิทธิในการต่อสู้คดีของบุคคลในชั้นศาลอย่างเป็นธรรมอันเป็น
                    หลักพื้นฐานของหลักนิติธรรมในอีกประการหนึ่งด้วย 109


                               นอกจากนี้ จริงอยู่ที่ประเด็นที่ กกต. ได้วินิจฉัยไว้แล้วคือ “ผู้สมัครของ
                    พรรคการเมืองกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง กกต. จึงสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่และ
                    เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรายนั้นเป็นเวลา 1 ปี” เป็นประเด็นข้อเท็จจริง
                    เดียวกันกับคดียุบพรรคการเมืองที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาอยู่ ณ ขณะนั้น แต่
                    ประเด็นหลักแห่งคดีก็มิใช่ประเด็นเดียวกันเสียทีเดียว เพราะเป็นการปรับบทกฎหมาย

                    คนละเรื่อง คนละมาตรา และคนละวัตถุประสงค์ มาตรา 239 วรรคหนึ่งนั้น คือ การสั่ง
                    ให้มีการเลือกตั้งใหม่และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครที่กระทำผิด ส่วนมาตรา 237
                    วรรคสอง คือ การสั่งยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหาร

                    พรรคการเมืองที่เป็นต้นสังกัดของผู้สมัครที่กระทำความผิดดังกล่าว

                               สมมุติว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่อยากก้าวล่วงเข้าไปรื้อฟื้นผลการวินิจฉัยของ
                    กกต. ในการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 239 วรรค

                    หนึ่ง เพราะศาลเห็นว่าเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้คำวินิจฉัยของ กกต.
                    เป็นที่สุด แต่กระนั้นก็ดี หากศาลตระหนักและเคารพหลักการแบ่งแยกอำนาจมากกว่านี้
                    โดยมุ่งเน้นพิเคราะห์ที่สภาพลักษณะองค์กรของ กกต. ซึ่งไม่เข้าข่ายการเป็นองค์กรผู้ใช้
                    อำนาจตุลาการ และลักษณะความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของการใช้อำนาจที่รวมศูนย์อยู่ใน

                    องค์กรเดียว อย่างน้อยที่สุด ศาลก็น่าจะตีความให้คำว่า “เป็นที่สุด” ตามมาตรา 239
                    วรรคหนึ่ง มีผลใช้บังคับอย่างจำกัด กล่าวคือ

                             เป็นที่สุดเฉพาะผลแห่งคำวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่และเพิกถอนสิทธิ
                       เลือกตั้งของผู้สมัครรายนั้นเท่านั้น แต่ประเด็นข้อเท็จจริงในคำวินิจฉัยดังกล่าว
                       ย่อมมิอาจถือเป็นอันยุติ และมีผลผูกพันศาลรัฐธรรมนูญให้ต้องรับฟังตามนั้น
                       สำหรับการพิจารณาวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมืองตามมาตรา 237 วรรคสอง






                       108   ทั้งๆ ที่ “บทบาทหน้าที่สำคัญของศาลในระบบกฎหมายที่ยึดถืออุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้นคือ
                    การสงวนและคุ้มครองหลักการแบ่งแยกอำนาจ” และ “การที่ศาลยับยั้งไม่เข้าไปควบคุมตรวจสอบคดีที่อยู่ในเขต
                    อำนาจกลับกลายเป็นศาลกำลังละเมิดหลักการแบ่งแยกอำนาจเสียเอง”; โปรดดู Aharon Barak, เรื่องเดิม, น.
                    45 และ น. 49 โดยลำดับ.
                       109   ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, เรื่องเดิม, น. 28.
   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310