Page 304 - kpi12821
P. 304

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                      รัฐธรรมนูญมาตรา 239 วรรคหนึ่งประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                      ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ.
                      2550 มาตรา 103 บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็น
                      การทุจริตการเลือกตั้ง... [ประเด็นข้อเท็จจริงเรื่องการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด
                      ตามกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่ – เพิ่มโดยผู้เขียน] จึงถือเป็นที่ยุติตามคำวินิจฉัยของ
                      คณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการใดที่มิได้เป็นไปตาม
                      ขั้นตอนวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติ ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจ
                      สอบหรือเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาและดุลพินิจในคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ
                      เลือกตั้งดังกล่าวได้” 106


                             การตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้มีผลเช่นนี้ ถือเป็นการตีความที่ขัดต่อ
                   หลักการแบ่งแยกอำนาจ เพราะเท่ากับว่า องค์กรหนึ่งคือ กกต. กำลังใช้อำนาจอธิปไตย
                   ในสองลักษณะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในตัวเอง เนื่องจาก กกต. นั้น มีทั้งอำนาจบริหาร
                   คือ การจัดการเลือกตั้ง และการสืบสวนสอบสวนการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งรวมอยู่
                   ด้วย ดังนั้น การตีความให้การใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของ กกต. เป็นที่สุด ตาม

                   ลายลักษณ์อักษรที่ปรากฎ จึงเท่ากับเป็นการตีความว่า กกต. กำลังใช้อำนาจตุลาการ
                   ทั้งๆ ที่โดยสภาพลักษณะองค์กรของ กกต. มิอาจถือได้ว่าเป็น “องค์กรผู้ใช้อำนาจ
                   ตุลาการ” ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว และทั้งๆ ที่โดยลักษณะของการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.

                   กกต. ก็ไม่อยู่ในวิสัยที่จะพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทได้อย่างปราศจากอคติ  และ
                                                                                    107
                   โดยอิสระจากการใช้อำนาจบริหารของ กกต. เอง


                             อนึ่ง แม้การตีความเนื้อหาคำวินิจฉัยที่ยกมาอ้างอิงไว้ในส่วนแรก (ตัวอักษร
                   เน้นสีดำข้างต้น) อาจทำให้อนุมานย้อนกลับได้ว่า หากกระบวนการใช้อำนาจของ กกต.
                   ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีอำนาจ
                   เข้าไปควบคุมตรวจสอบได้ แต่กระนั้นก็ดี ลำพังเพียงแค่การที่ศาลตีความให้เนื้อหาของ
                   คำวินิจฉัยและการใช้ดุลพินิจของ กกต. ในเรื่องดังกล่าวเป็นที่สุด ไม่ว่าจะมีข้อบกพร่อง

                   ในเรื่องกระบวนพิจารณาหรือไม่นั้น ก็ยังคงไม่สอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ
                   อยู่ดี เพราะเป็นไปได้ที่เนื้อหาคำวินิจฉัยของ กกต. อาจผิดพลาดในการรับฟังข้อเท็จจริง
                   อันเป็นสาระสำคัญ (Error of Material Facts) หรือตีความกฎหมายไม่ถูกต้อง (Error

                   of Law) แต่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการที่แท้จริงกลับปฏิเสธ


                      106   คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 15; คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 97.
                      107   อย่างน้อยก็ในเชิงภาวะวิสัย (objective) แม้ว่า กกต. แต่ละท่าน (อัตวิสัย –Subjective) จะพิจารณา
                   วินิจฉัยข้อพิพาทอย่างสุจริตและปราศจากอคติใดๆ ก็ตาม
   299   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309