Page 303 - kpi12821
P. 303

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                               นอกจากนี้ องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการยังต้องมีลักษณะ “เป็นบุคคลที่สาม

                    ซึ่งเป็นกลาง” (Neutral Third Party) คือ ต้องมิใช่คู่กรณีเสียเอง (nemo judex in
                                                                     103
                    re sua – No one can be a judge in his own cause)  แม้ว่าในการวินิจฉัยชี้ขาด
                    ข้อพิพาทของ กกต. หลายๆ เรื่องจะเริ่มต้นจากการมีผู้ร้องเรียนว่ามีการกระทำผิด แต่ก็
                    เป็นไปได้อีกเหมือนกันที่ กกต. จะตรวจพบเหตุกระทำผิดและริเริ่มดำเนินการสืบสวน
                    สอบสวนเหตุดังกล่าวเสียเอง กรณีเช่นนี้ย่อมเท่ากับว่า กกต. ผลักตัวเองเข้าไปอยู่ใน

                    สถานะเป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งในข้อพิพาท ดังนั้น แม้ กกต. จะมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทแต่
                    ก็ไม่อาจถือได้ว่า กระทำไปในฐานะที่เป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการได้


                               ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่า การใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทต่างๆ ของ
                    กกต. รวมทั้งการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครที่ปรากฎ
                    หลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งส่งผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไป

                    โดยสุจริตและเที่ยงธรรม ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 239
                               104
                    วรรคหนึ่งนั้น  เป็นเพียงการใช้อำนาจกึ่งตุลาการเท่านั้น และแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะ
                    บัญญัติให้ คำวินิจฉัยของ กกต. “เป็นที่สุด” ก็ตาม แต่ถ้อยคำดังกล่าวก็หาได้มีผลเป็น
                    การริดลอนอำนาจตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญ ในอันที่จะควบคุมตรวจสอบการใช้             1
                    อำนาจกึ่งตุลาการดังกล่าว แต่อย่างใดไม่ 105


                               อย่างไรก็ดี ศาลรัฐธรรมนูญกลับตีความมาตรา 239 วรรคหนึ่ง ให้คำ
                    วินิจฉัยของกกต. มีผลเป็นที่สุด และศาลไม่อาจตรวจสอบเนื้อหาและดุลพินิจของ

                    คำวินิจฉัยได้ ดังความว่า

                             “...ประเด็นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยไว้แล้วนั้น เป็นประเด็น
                       ข้อเท็จจริงเดียวกันกับคดีนี้ และเป็นประเด็นที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของ
                       คณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะเป็นผู้วินิจฉัยตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งตาม


                       103   William Wade และ Christopher Forsyth, เรื่องเดิม, น. 445 – 447.
                       104   ร.ธ.น., ม. 239 วรรคแรก บัญญัติว่า “ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่
                    หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ให้คำ
                    วินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด”
                       105   รวมถึงกรณีศาลฎีกาด้วย แต่ทั้งนี้ โปรดดูคำสั่งศาลฎีกาที่ 35/2551 (11 มค. 2551) และโปรดเทียบ
                    คำพิพากษาฎีกาที่ 646-647/2510; และเปรียบเทียบกับกรณี “บทบัญญัติริดลอนอำนาจพิพากษา คดีของศาล”
                    (Ouster Clause) ของอังกฤษ ซึ่งศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล ก็เคยเขียนอธิบายแนวทางการตีความบท
                    กฎหมาย “Final and Conclusive” ของศาลอังกฤษไว้ในบทความเรื่อง “การควบคุมตรวจสอบฝ่ายปกครองใน
                    อังกฤษ,” ดุลพาห, (เล่ม 1 ปีที่ 37 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2533) น. 113 – 115; และโปรดดู William Wade และ
                    Christopher Forsyth, เรื่องเดิม, น. 705 – 710.
   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307   308