Page 299 - kpi12821
P. 299

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    (Judicial Independence) อิสระในแง่ “องค์กร” (Institutional Independence)

                    และอิสระในแง่ “ผู้พิพากษาแต่ละคน” (Individual/Personal Independence)
                    ในการทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดี อิสระทั้งจากกระแสสังคมภายนอก อิสระ
                    จากองค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร อิสระจากผู้บริหารศาลและตุลาการ
                    คนอื่นๆ อิสระจากคู่ความ ตลอดจนอิสระจากอคติส่วนบุคคลของผู้พิพากษาตุลาการ
                           86
                    ผู้นั้นเอง  ความเป็นอิสระที่ว่ามาทั้งหมดนี้มีขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันซึ่งความยุติธรรม
                    นั่นเอง

                               หลักความเป็นอิสระขององค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการนี้อาจไม่มีประโยชน์

                    อันใด หากองค์กรตุลาการเป็นอิสระจริง แต่กลับไม่มีเขตอำนาจเหนือข้อพิพาทหรือ
                    ถูกจำกัดอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี ทำให้ไม่อาจควบคุมตรวจสอบความชอบ
                    ด้วยรัฐธรรมนูญและความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำขององค์กรผู้ใช้อำนาจ

                    อธิปไตยอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่  ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้หลักการแบ่งแยกอำนาจเกิดการดุลและ
                                           87
                    คาน “ให้อำนาจยับยั้งอำนาจ” อย่างเหมาะสม องค์กรตุลาการที่เป็นอิสระจึงจำเป็น
                    ต้องมีอำนาจในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรอื่นๆ ด้วย


                               อนึ่ง ในส่วนของไทย รัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ แม้ในช่วงรัฐประหารที่ใช้
                    รัฐธรรมนูญชั่วคราว ต่างก็ถือหลักการแบ่งแยกอำนาจ (ซึ่งรวมถึงหลักความเป็น
                    อิสระขององค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการ) เป็นพื้นฐานสำคัญ  ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า
                                                                      88

                       86   โปรดดู ร.ธ.น., ม. 197 – 198, ม. 202, ม. 168 ว. 8 – 9, ม. 217, ม. 222, ม. 227; และโปรดดู
                    Aharon Barak, The Judge in A Democracy, (New Jersey: Princeton University Press, 2006) น. 76
                    – 80; และ Frank Cross, “Judicial Independence,”ใน Keith E. Whittington, et. Al. (ed.), The Oxford
                    Handbook of Law and Politics, (New York: Oxford University Press, 2010) น. 557 – 572.
                       87    Frank Cross, เรื่องเดิม, น. 561.

                       88   โปรดดู บทบัญญัติรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก มิได้บัญญัติแบ่งแยกออกเป็น
                    “อำนาจ” ต่างๆ อันได้แก่ ร.ธ.น. 2550, ม. 3; ร.ธ.น. ชั่วคราว 2549, ม. 2; ร.ธ.น. 2540, ม. 3; ร.ธ.น. 2534, ม.
                    3, ร.ธ.น. 2521, ม.3; ร.ธ.น. 2517, ม. 3; และพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 2475,
                    ม.2; กับกลุ่มที่สอง บัญญัติรับรองอำนาจอธิปไตยออกเป็น “อำนาจนิติบัญญัติ” “อำนาจบริหาร” และ “อำนาจ
                    ตุลาการ” ได้แก่ ธรรมนูญฯ 2534, ม.3; ธรรมนูญฯ 2520, ม.3, ร.ธ.น.  2519, ม. 3 และ ม. 7; ธรรมนูญฯ 2515,
                    ม. 3; ร.ธ.น. 2511, ม. 3, และ ม. 7–9; ธรรมนูญฯ 2502, ม.5; ร.ธ.น. 2492, ม. 8– 10; ร.ธ.น.ชั่วคราว 2490,
                    ม. 6– 8; ร.ธ.น. 2489, ม. 6 – 8; ร.ธ.น. 2475, ม. 6 - 8; ผู้สนใจข้อถกเถียงในประเด็นการบัญญัติแบ่งแยก
                    (การใช้) อำนาจออกเป็นสามอำนาจ โปรดดู โภคิน พลกุล, ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องในรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพฯ:
                    ศูนย์การพิมพ์พลชัย, 2529) น. 26 – 41.
   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304