Page 301 - kpi12821
P. 301

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    อำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทโดยองค์กรผู้ใช้อำนาจอื่นนี้เรียกกันทางวิชาการว่า “การใช้

                    อำนาจกึ่งตุลาการ” (Quasi-judicial Power) 93

                               การให้องค์กรอื่นมาใช้อำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทในลักษณะเช่นนี้ไม่ได้ขัดต่อ
                    หลักการแบ่งแยกอำนาจ เพราะในท้ายที่สุด การใช้อำนาจกึ่งตุลาการดังกล่าวก็ต้องถูก
                                                                           94
                    ควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรศาลในการใช้อำนาจตุลาการอยู่ดี  ทั้งนี้ เพราะหัวใจ
                    สำคัญของการใช้อำนาจตุลาการตามหลักการแบ่งแยกอำนาจก็คือ องค์กรผู้ใช้อำนาจ
                    ตุลาการนั้นต้องมีความเป็นอิสระจากองค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและองค์กรผู้ใช้อำนาจ
                          95
                    บริหาร  ดังนั้นการที่ปล่อยให้องค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ หรือองค์กรผู้ใช้อำนาจ
                    บริหาร มาร่วมใช้อำนาจตุลาการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจของตนให้ “เป็น

                    ที่สุดและเด็ดขาด” ย่อมทำให้การใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือการใช้อำนาจบริหารดังกล่าว
                    เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในตัวเอง ไม่อาจถูกควบคุมตรวจสอบได้ และย่อมขัดต่อหลักการแบ่ง
                    แยกอำนาจ

                               นอกจากนี้ การใช้อำนาจตุลาการตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ก็มิได้

                    ผูกขาดอยู่กับ “ศาล” แต่เพียงองค์กรเดียว องค์กรอื่นๆ หากมีความเป็นอิสระและมี
                                                                                   96
                    ลักษณะเฉพาะครบถ้วนด้วยองค์ประกอบขององค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการ  ก็ย่อมใช้
                    อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทให้มีผลเป็นที่สุดในระบบกฎหมาย (res judicata) ได้
                    ดังเช่นที่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน (Bundesverfassungsgericht) เคยวินิจฉัยว่า การ

                    แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะกรรมการอิสระที่แต่งตั้งโดยรัฐสภา ทำหน้าที่
                    วินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับการดักฟังและการตรวจสอบการสื่อสารทั้งทางอิเล็กทรอนิกส์
                    และทางไปรษณีย์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติแทนศาลนั้น มิได้ขัดต่อหลัก
                    การแบ่งแยกอำนาจและหลักความเป็นอิสระของศาล ซึ่งเป็นหลักการระดับ “คุณค่า

                    พื้นฐาน” อันจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขมิได้ของรัฐธรรมนูญ แต่อย่างใด 97

                       93   ผู้สนใจโปรดดู บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ, คดีปกครองเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ
                    วินิจฉัยข้อพิพาท, สำนักงานศาลปกครอง (ม.ปท., 2542) น. 1 – 12.
                       94   เปรียบเทียบกรณีของเยอรมัน โปรดดู David P. Currie, The Constitution of the Federal
                    Republic of Germany, (Chicago: University of Chicago Press, 1994), น. 161 – 162.
                       95   วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, “ศาลปกครองกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ,” ใน เรื่องเดิม, น. 64.
                       96   ผู้สนใจองค์ประกอบขององค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการ โปรดดู บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ,
                    (กรุงเทพฯ: เดือนตุลา, 2549) น. 363 – 365.
                       97   BVerfGE 30, 1 (23 – 29) [Eavesdropping Case] อ้างถึงใน David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 171 -
                    172; แต่ทั้งนี้ โปรดเทียบ คำพิพากษาศาลฎีกาไทยหลายฉบับที่วินิจฉัยว่า การตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลมาทำการ
                    พิจารณาพิพากษาอรรถคดีย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
                    ประมุข เช่น ฎีกาที่ 913/2536 ฎีกาที่ 222/2506 ฎีกาที่ 1240/2514 และคำวินิจฉัยของคณะตุลาการ
                    รัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 18 ก.พ. 2501 เป็นต้น.
   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306