Page 306 - kpi12821
P. 306
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
กล่าวโดยสรุป การที่ กกต. ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้น ไม่ได้ขัดต่อ
หลักการแบ่งแยกอำนาจ หากแต่การตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้การใช้อำนาจ
ดังกล่าวของ กกต. “เป็นที่สุด” และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบขององค์กร
110
ศาล นั่นต่างหากที่เป็นการไม่เคารพต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ อันเป็นพื้นฐานหนึ่ง
ของหลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐของไทย
3.7 ศาลรัฐธรรมนูญเลือกใช้นิติวิธีการตีความรัฐธรรมนูญ
ที่ไม่เหมาะสม
ในการตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรคสองในคดี
ยุบพรรคการเมืองทั้งสามพรรคดังกล่าวนั้น ศาลรัฐธรรมนูญใช้นิติวิธีการตีความตาม
ลายลักษณ์อักษร (Textual Interpretation) อาทิ การตีความ คำว่า “เป็นที่สุด” ของ
คำวินิจฉัยของ กกต. ในการสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครตามรัฐธรรมนูญ มาตรา
239 ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบหรือเปลี่ยนแปลงใน
เนื้อหาและดุลพินิจในคำวินิจฉัย...ดังกล่าวได้” ประกอบกับการตีความโดยคำนึงถึง
111
เจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญในการบัญญัติความมาตรา 237 (Original-Intent
Interpretation) อาทิ การอารัมภบทในตอนต้นของคำวินิจฉัยถึงเจตนารมณ์ของ
รัฐธรรมนูญและในอีกหลายตอนว่า “มีเจตนารมณ์จะให้การเลือกตั้งของประเทศเป็น
ไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม...จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและกำหนดวิธีการ
ลงโทษไว้อย่างชัดเจนและเข้มงวด...เพื่อไม่ให้เกิดการซื้อสิทธิซื้อเสียง... [เพราะถือ–
เพิ่มโดยผู้เขียน] เป็นเรื่องร้ายแรง...” และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตีความให้กรรมการ
บริหารพรรคทุกคนต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยอัตโนมัติเมื่อศาลวินิจฉัยให้ยุบ
พรรคการเมืองนั้น อันนำมาซึ่งผลของการตีความและบังคับใช้กฎหมายที่มีลักษณะ
112
110 น่าเสียดายที่แม้แต่ศาลฎีกาเองก็ยอมจำนนต่อบทบัญญัติมาตรา 239 วรรคหนึ่งดังกล่าว ดังปรากฎใน
คำสั่งศาลฎีกาที่ 35/2551 ลงวันที่ 11 มกราคม 2551; ซึ่งก็น่าขบคิดเหมือนกันว่า หากบรรพตุลาการศาลไทย
ในอดีตที่ท่านวางหลักไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 646-647/2510 ได้แก่ อาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อาจารย์ศิริ มลิลา
และอาจารย์จินตา บุญยอาคม ร่วมเป็นองค์คณะผู้พิพากษาในคดีเหล่านี้ ท่านจะตีความคำว่า “เป็นที่สุด”
ในมาตรา 239 วรรคหนึ่ง เช่นไร.
111 คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 97; และคดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 15; หรือการตีความ
คำว่า “ให้ถือว่า” เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด แม้ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ ก็เป็นการตีความ
ตามลายลักษณ์อักษรเช่นกัน; โปรดดู คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 98, และ 100; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย,
เรื่องเดิม, น. 16 และ 19; คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 23 และ 26.
112 คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 96, และ 100 โดยลำดับ; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 14
และ 19 โดยลำดับ; คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 20, และ 26 โดยลำดับ; และโปรดเทียบ คำอภิปราย
ของนายประพันธ์ นัยโกวิท รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และนายจรัญ ภักดีธนากุล ต่อที่ประชุมสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 ใน สมคิด เลิศไพฑูรย์, การยุบพรรคการเมืองในประเทศไทย หนังสือที่
ระลึก 68 ปี รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร, เรื่องเดิม, น. 47 – 57.