Page 310 - kpi12821
P. 310
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
สูงสุดในการก่อตั้งองค์กรทางการเมือง (Pouvoir Constituant Derivé) ก็มิอาจแก้ไข
เปลี่ยนหลักการนี้ได้ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ ที่รองรับหลักการในเรื่องนี้
จึงเป็นบทบัญญัติที่ไม่อาจแก้ไขได้ เรียกกันในภาษาวิชาการว่า “บทบัญญัติถาวร
124
ตลอดกาล” (Eternity Clause) ดังนั้น หลักการเหล่านี้จึงถือว่าเป็นหลักการระดับ
โครงสร้างพื้นฐานของรัฐธรรมนูญที่มีค่าบังคับสูงกว่าหลักการที่ปรากฏในบทบัญญัติ
มาตราอื่นๆ ของรัฐธรรมนูญ และผลที่ตามมาก็คือ การตีความบทบัญญัติอื่นๆ ก็จะต้อง
ตีความให้สอดรับไปในทิศทางเดียวกันกับหลักการที่จัดว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ด้วย
เมื่อพิจารณาความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 แล้ว พบว่า หลักการระดับ
โครงสร้างพื้นฐานของรัฐธรรมนูญไทยมีอยู่ 3 ประการ อันได้แก่ (1) หลักประชาธิปไตย
(Democratic Principle) (2) หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ หรือหลักราช
อาณาจักร (King as the Head of State/ Kingdom) และ (3) หลักรูปของรัฐแบบรัฐ
เดี่ยว (Unitary State)
ปัญหาในประการต่อมาก็คือ หลักการระดับโครงสร้างพื้นฐานของ
รัฐธรรมนูญเหล่านี้มีเนื้อหาหลักการปลีกย่อยประการใด กล่าวโดยเฉพาะเจาะจงสำหรับ
กรณีที่กำลังวิเคราะห์กันอยู่นี้ก็คือ หลักประชาธิปไตยนั้นมีสาระสำคัญอย่างไร
ในประเด็นนี้ เห็นเป็นที่ยอมรับกันอย่างสากลทั่วไปแล้วว่า หลักประชาธิปไตยนั้นย่อม
เคียงคู่อยู่กับหลักนิติรัฐหรือหลักนิติธรรมเสมอ และหลักนิติรัฐหรือหลักนิติธรรมนี้
125
ก็จะมาพร้อมกันกับหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล หลักความเสมอภาค
หลักความได้สัดส่วน และหลักการแบ่งแยกอำนาจ ดังนั้น การตีความบทบัญญัติ
รัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ ตามนิติวิธีการตีความในเชิงโครงสร้างนี้ จะต้องตีความให้
สอดคล้องเป็นไปทิศทางเดียวกันกับหลักการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นด้วย
อนึ่ง อาจมีผู้โต้แย้งว่า ในกรณีที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญขัดหรือแย้งกันเอง
เช่นที่อ้างว่า มาตรา 237 วรรคสองมีเนื้อหาสาระขัดต่อหลักประชาธิปไตยอันเป็นคุณค่า
124 หรือ “Ewigkeitsklausel” ในภาษาเยอรมัน; การเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติถาวรตลอดกาลนี้ แม้จะกระทำ
โดยกระบวนการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้ กระทำได้เพียงอย่างเดียวคือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญ และจัดทำ
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่; อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลสูงสุดของหลายประเทศ เคยวินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการลิดรอนหลักการพื้นฐานของบทบัญญัติถาวรนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เป็นอันใช้บังคับมิได้.
125 ตำราวิชาการหลายต่อหลายเล่มก็อธิบายเช่นนั้น อาทิ งานเขียน Ronald Dworkin, John Rawls, TRS
Allen ฯลฯ หนังสือภาษาไทยก็เช่น บรรเจิด สิงคะเนติ, เรื่องเดิม, น. 19; วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, เรื่องเดิม, น. 1 - 7;
นอกจากนี้ ยังมีหลักการปลีกย่อยอื่นๆ อีก เช่น หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักความมั่นคงแน่นอนของกฎหมาย
หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยศาล ทั้งนี้ โดยสารัตถะแล้วจะคล้ายคลึงกัน ต่างกันตรงที่การจัดหมวดหมู่และ
กำหนดชื่อหัวข้อเท่านั้น