Page 311 - kpi12821
P. 311

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    พื้นฐานทางรัฐธรรมนูญดังความที่ปรากฎในบทบัญญัติมาตรา 2 และมาตรา 291 หลัก

                    การแบ่งแยกอำนาจและหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 หลักความเสมอภาคตามมาตรา 4
                    และมาตรา 30 และหลักความได้สัดส่วนตามมาตรา 29 ดังกล่าวมาแล้วนั้น กรณีเช่นนี้
                    ต้องถือตามสุภาษิตการตีความกฎหมายที่ว่า “บทเฉพาะย่อมยกเว้นบททั่วไป” (lex
                    specialis derogat legi generali) ในเมื่อมาตรา 237 วรรคสองเป็นบทเฉพาะ
                    ก็ย่อมมีผลเป็นการยกเว้นบทบัญญัติทั่วไปต่างๆ ดังกล่าว


                               อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยเห็นว่า สุภาษิตการตีความกฎหมายดังกล่าวย่อมนำมา
                    ใช้ได้เท่าที่สอดคล้องกับหลักการอันเป็นโครงสร้างหรือคุณค่าพื้นฐานของกฎหมายฉบับ

                    นั้นๆ เท่านั้น และในกรณีนี้ก็คือ ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ และ
                    ต้องตีความให้มีผลใช้บังคับอย่างจำกัด เพราะมิเช่นนั้นแล้ว ข้อยกเว้นจะกลับกลายไป
                    เป็นหลักทั่วไป และในท้ายที่สุดอาจส่งผลทำลายโครงสร้างของกฎหมายนั้นทั้งฉบับ

                    ไปเลยก็ได้

                               เช่นเดียวกัน อาจมีข้อโต้แย้งว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีอำนาจจัดทำ
                    รัฐธรรมนูญตามที่อำนาจสูงสุดในการก่อตั้งองค์กรทางการเมือง (Pouvoir Constituant –

                                            126
                    Constituent Power) ให้ไว้  แล้วเหตุไฉน ผู้ร่างรัฐธรรมนูญจึงจะไม่สามารถกำหนด
                                                                                         127
                    บทบัญญัติที่ยกเว้นหลักการหรือคุณค่าพื้นฐานของรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นเองฉบับนี้ได้

                               แม้ข้อโต้แย้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีที่น่ารับฟังยิ่ง หากแต่ผู้วิจัยก็มี
                    ข้อสังเกตประกอบการวิเคราะห์ว่า ประการแรก เจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ
                    มิใช่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ  ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ เช่น
                                                128
                    คำอภิปราย บันทึกเจตนารมณ์ ฯลฯ เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการค้นหาเจตนารมณ์
                    รัฐธรรมนูญ ประการที่สอง มีความเป็นไปได้เหมือนกันที่จะมีความบกพร่องผิดพลาด
                              129
                    ในการร่างรัฐธรรมนูญ เช่น บทบัญญัติรัฐธรรมนูญหลายมาตรามีเนื้อความไม่ “ล้อ” กัน
                                                                        130
                    หรือผิดพลาด จนส่งผลให้ไม่อาจใช้บังคับได้ในหลายกรณี  และประการที่สาม

                       126   บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 3: ที่มาและนิติวิธี, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2538) น. 19 – 22.

                       127    David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 219
                       128   “กฎหมายแต่ละฉบับมีเจตนารมณ์ของตนเองเป็นเอกเทศต่างหากจากเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติ”
                    โปรดดู ธานินทร์ กรัยวิเชียร, เรื่องเดิม, น. 22.
                       129   ยิ่งรัฐธรรมนูญฉบับนั้นมีอายุยาวนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการยืนยันข้อสังเกตข้อนี้ เช่นที่ในระบบกฎหมาย
                    อเมริกันมีข้อถกเถียงเรื่องนี้อย่างมาก; ผู้สนใจโปรดดู David A. Strauss, The Living Constitution, (New
                    York: Oxford University Press, 2010).

                       130   ตัวอย่างเช่น ร.ธ.น. 2540, ม. 287 เทียบ ร.ธ.น. 2550, ม. 286.
   306   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316