Page 316 - kpi12821
P. 316

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                             ลักษณะพฤติการณ์ที่ถือว่าร้ายแรงโดยสภาพ ได้แก่ การฉ้อโกงหรือ

                   “บิดเบือนเจตจำนงของประชาชน” กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การทุจริตในผลการเลือกตั้ง
                   อย่างเช่นกรณีตัวอย่างของนายเจ็ดข้างต้นที่มีพฤติกรรมซื้อเจ้าหน้าที่เพื่อเปลี่ยนหีบบัตร
                   เลือกตั้ง และการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบสั่งการให้มีการเอื้อประโยชน์แก่ผู้สมัครและ
                   พรรคการเมืองของตนและกลั่นแกล้งคู่แข่งทางการเมืองอย่างกรณีของนายแปด ซึ่งก็
                   เป็นการ “บิดเบื้อนการใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง” หากการกระทำดัง

                   กล่าวดำเนินการอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมหลายพื้นที่เช่นนี้ ย่อมส่งผลกระทบที่รุนแรง
                   กว้างขวาง และถือได้ว่า ละเมิดหลักประชาธิปไตยในเชิงกระบวนการ (Procedural
                   Democracy) อย่างร้ายแรง ซึ่งแน่นอน การกระทำดังกล่าวต้องมีกรรมการบริหาร

                   พรรค และสมาชิกพรรคจำนวนมากมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย อย่างน้อยที่สุดก็คือ
                   มีพฤติกรรมการสมรู้ร่วมคิด

                             อนึ่ง ข้อเสนอดังกล่าวยังมิได้ผ่านการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ในเชิงลึก
                   จึงขอเสนอให้มีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ อย่างน้อยสามประเด็น อันได้แก่ ประเด็นแรก

                   ข้อห้ามตามกฎหมายเลือกตั้งที่มีอยู่ ณ มีความเหมาะสมหรือไม่ เช่น การห้ามจัดแสดง
                   มหรสพในการหาเสียงเลือกตั้ง อาจถือเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกเกิน
                   สมควรหรือไม่ เพราะเท่าที่ศึกษาเบื้องต้น ยังไม่พบว่า มีการกำหนดข้อห้ามนี้

                   ในกฎหมายของเลือกตั้งของประเทศประชาธิปไตยดั้งเดิมทั้งหลาย และผู้วิจัยยังไม่เห็น

                   พิษภัยของการแสดงมหรสพ แต่กลับเห็นว่าเป็นการดี เพราะจะทำให้ประชาชนสนใจมา
                   ร่วมรับฟังการหาเสียง ประเด็นที่สอง การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการบังคับใช้
                   กฎหมายเลือกตั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิดซื้อเสียงเลือกตั้ง
                                      139
                   และทุจริตเลือกตั้งอื่นๆ  ก่อนจะนำไปสู่ประเด็นที่สามคือข้อห้ามตามกฎหมายเลือกตั้ง
                   ข้อใดที่จัดว่ามีพฤติการณ์ร้ายแรง และผลกระทบมากเพียงไรจึงจะถือว่ารุนแรง
                   อันสมควรกำหนดให้เป็นเหตุยุบพรรคการเมืองได้

                             4.1.2 องค์ประกอบเรื่อง “ผู้กระทำ”

                             ในคดียุบพรรคทั้งสามคดี ศาลรัฐธรรมนูญตีความบทบัญญัติมาตรา 237

                   วรรคสองในเรื่อง “ผู้กระทำ” ถูกต้องตามลายลักษณ์อักษรและถูกต้องตามตรรกะ

                      139   เท่าที่ตรวจสอบ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2553 ยังไม่ปรากฎว่า มีการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกัน
                   และปราบปรามการฟอกเงินกับกรณีการทุจริตเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่มาตรา 53 วรรคสองของกฎหมายเลือกตั้งกำหนด
                   ให้การฝ่าฝืนมาตราดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน ซึ่งในประเด็นนี้ สมควรต้องมีการศึกษาวิจัย
                   ในเชิงลึก เพราะผู้วิจัยเห็นว่า น่าจะเป็นวิธีการที่เกิดประสิทธิภาพในการปราบปรามการซื้อสิทธิขายเสียงมากกว่า
                   และกระทบสิทธิของบุคคลอื่นน้อยกว่าการยุบพรรคการเมือง; โปรดดู พรป. การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง
                   ส.ว. 2550, ม.53 และ พรบ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 2542.
   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321