Page 318 - kpi12821
P. 318
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
พรรคการเมืองเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง อีกทั้งยังส่งผลต่อเนื่องให้หัวหน้าและกรรมการ
บริหารพรรคคนอื่นๆ ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปีตามไปด้วย ถือว่าขัดต่อ
หลักความเสมอภาค หลักความรับผิดเฉพาะบุคคล และหลักความได้สัดส่วนเป็น
อย่างยิ่ง
ผู้วิจัยเห็นว่า ควรมีการจัดระดับการลงโทษพรรคการเมืองและกรรมการ
บริหารพรรคการเมืองในกรณีที่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเสียใหม่ให้สอดคล้องกับ
ระดับความร้ายแรงของพฤติการณ์ ลักษณะ และผลกระทบของการกระทำผิด ดังนี้
กรณีพรรคการเมือง (1) ร่วมรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดเลือกตั้งใหม่
(2) เรียกคืนเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองที่พรรคนั้นได้รับใน
ปีนั้นและ/หรืองดการให้เงินสนับสนุนในปีต่อไป (3) ลงโทษปรับ ไม่ว่าจะเป็นโทษปรับ
ทางปกครองหรือทางอาญา และ (4) ยุบพรรคการเมือง
กรณีกรรมการบริหารพรรค (1) รับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดเลือกตั้ง
ใหม่ที่พรรคต้องชำระให้แก่ กกต. เงินที่พรรคถูกเรียกคืน เงินที่พรรคไม่ได้รับสนับสนุน
ในปีต่อไป หรือเงินที่พรรคต้องชำระโทษปรับ โดยให้รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม (2) ให้
กรรมการบริหารพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ/เฉพาะราย และอาจห้ามดำรงตำแหน่ง
กรรมการบริหารพรรคในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (3) ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เป็นการเฉพาะรายในช่วงระยะเวลาหนึ่งและ (4) ดำเนินคดีอาญาและเพิกถอนสิทธิ
เลือกตั้งเป็นการเฉพาะราย
รายละเอียดของมาตรการดังกล่าวสมควรบัญญัติไว้ในกฎหมาย
พรรคการเมืองและกฎหมายเลือกตั้ง โดยกำหนดให้เป็นบทสันนิษฐานไว้ก่อน
(Presumption) และเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง
สามารถพิสูจน์หักล้างเป็นอย่างอื่นได้ และที่สำคัญ ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่น
มีดุลพินิจในการปรับใช้กฎหมายให้มีความเหมาะสมเป็นธรรมตามควรแก่กรณีเป็น
การเฉพาะรายด้วย
4.2 ความไม่สอดคล้องกับบริบทการเมืองไทย
จริงอยู่ ผู้วิจัยยอมรับว่า พรรคการเมืองไทยมีปัญหาในเรื่องการเป็นสถาบัน
ทางการเมืองและการเป็นพรรคของมวลชน พรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นพรรคของ
นายทุน จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้เข้าเป็นรัฐบาล ตั้งหน้าตั้งตาถอนทุน หากำไร และ