Page 317 - kpi12821
P. 317

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    การตีความกฎหมายที่ว่า “เมื่อกฎหมายห้ามกระทำสิ่งชั่วร้ายใดไว้สิ่งที่ชั่วร้ายมาก

                                                                                          140
                    กว่านั้นก็ย่อมถูกห้ามไปด้วย” ดังสำนวนว่า “ยิ่งต้องเป็นเช่นนั้น” (a fortiori)
                    กล่าวคือเมื่อผู้สมัครกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งแล้วหัวหน้าหรือกรรมการบริหาร
                    พรรคมีส่วนรู้เห็น ปล่อยปละละเลย หรือทราบแล้วมิได้ยับยั้งแก้ไข ยังถือเป็นเหตุยุบ
                    พรรคการเมืองได้ แล้วเหตุไฉนเมื่อกรรมการบริหารพรรคการเมืองกระทำผิดเสียเอง
                    แล้วจะยุบพรรคไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี การตีความดังกล่าวกลับไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ

                    หลักนิติธรรม หลักความเสมอภาค หลักความได้สัดส่วน ฯลฯ ด้วยเหตุผลต่างๆ ที่กล่าว
                    มาแล้ว และแม้ว่า การให้พรรคการเมืองต้องร่วมรับผิดในการกระทำของกรรมการ
                    บริหารและผู้สมัครในนามของพรรคจะไม่ขัดต่อหลักความรับผิดของนิติบุคคลก็ตาม แต่

                    การให้นิติบุคคลต้องรับผิดถึงขนาดยุบเลิกนิติบุคคลเพียงเพราะการกระทำของคนๆ
                    เดียว ก็ไม่เป็นธรรมกับนิติบุคคลนั้น

                               ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเสนอว่า การยุบพรรคการเมืองเพราะเหตุกระทำการ
                    ฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งและทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมนั้น จะ

                    เกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบในเรื่อง “ผู้กระทำ” ดังนี้

                               กรณีแรก กระทำโดยมติของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมี
                    พฤติการณ์ที่อนุมานได้ว่า คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ
                    กระทำผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ให้พิเคราะห์จากพฤติกรรมของหัวหน้าพรรคและกรรมการ

                    บริหารพรรคหลายๆ คน ประกอบกัน

                               กรณีที่สอง กระทำโดยผู้สมัครหลายๆ คนของพรรคการเมืองอันทำให้
                    อนุมานได้ว่า พรรคการเมืองมีแนวทางสนับสนุนการกระทำผิดกฎหมาย

                               แต่ทั้งนี้ ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับองค์ประกอบเรื่อง “การกระทำ” ตาม

                    ลักษณะความร้ายแรงของพฤติการณ์และความรุนแรงของผลกระทบที่มีต่อการเลือกตั้ง
                    ดังที่เสนอไว้ในข้อ 4.1.1 ด้วย

                               4.1.3 ผลทางกฎหมายสำหรับการกระทำที่ครบองค์ประกอบตาม 4.1.1

                    และ 4.1.2

                               ทั้งเนื้อความและการตีความมาตรา 237 วรรคสองตามแนววินิจฉัยปัจจุบัน
                    นำไปสู่การยุบพรรคการเมืองโดยอัตโนมัติ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่า กรรมการบริหาร



                       140   คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 99; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 17; คดีพรรคพลังประชาชน,
                    เรื่องเดิม, น. 24.
   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321   322