Page 312 - kpi12821
P. 312

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในแต่ละบทมาตรานั้นพึงสกัดได้จากถ้อยคำสำนวนตามตัว

                   อักษร ประกอบกับเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยพิเคราะห์ “บทมาตราของ
                   รัฐธรรมนูญทั้งฉบับประกอบกับสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปในขณะที่มีปัญหาจะต้อง
                   วินิจฉัย”  ให้ต่อเนื่องสอดคล้องกับหลักการอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ
                           131
                   และประการสุดท้าย การตีความกฎหมายนั้นต้องสมเหตุสมผลและสอดคล้องกับหลัก
                   ความยุติธรรม 132


                             ด้วยเหตุผลต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จึงเห็นว่า ในการพิจารณาตัดสินคดียุบ
                   พรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 237 วรรคสอง ทั้งสามคดีที่

                   ผ่านมา หากศาลเลือกใช้นิติวิธีการตีความที่เหมาะสมกว่านี้ คงไม่นำมาซึ่งผลการตีความ
                   รัฐธรรมนูญที่ส่งผลแปลกประหลาด ขัดต่อสามัญสำนึกและหลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐ
                   ในประการต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น


                        3.8 การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง
                           เฉพาะราย ไม่สอดคล้องกับแนวบรรทัดฐานของ

                           พันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี                133
           0
                             กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)

                   ที่ประเทศไทยเป็นภาคีด้วยนั้นได้รับรองเสรีภาพในการรวมกลุ่มซึ่งครอบคลุมถึงการรวม
                   กลุ่มที่เป็นพรรคการเมืองไว้ในข้อ 22 และในข้อ 25 ก็ยังได้รับรองเสรีภาพทางการเมือง
                   ของประชาชนไว้ ดังนั้น การยุบพรรคการเมืองจึงอาจถือเป็นการละเมิดกติกาดังกล่าว
                   ได้  และแม้ที่ผ่านมา จะมิได้มีแนววินิจฉัยที่ตรงกับประเด็นการยุบพรรคการเมืองข้อนี้
                     134

                      131   ธานินทร์ กรัยวิเชียร, เรื่องเดิม, น. 22.

                      132   Lord Denning วินิจฉัยไว้ในคดีหนึ่งว่า “หากการตีความกฎหมายอย่างเคร่งครัด (ตามตัวอักษร) แล้วจะ
                   เกิดผลประหลาด หรือเกิดความไม่ยุติธรรม ศาลสามารถและสมควรใช้ดุลพินิจเยียวยาเรื่องนี้โดยเปลี่ยนถ้อยคำที่
                   ปรากฎในตัวกฎหมาย, ในกรณีจำเป็น, ไปในทางที่รัฐสภาพึงกระทำ ถ้ารัฐสภาตระหนักในสถานการณ์ที่เป็นจริง”
                   อ้างถึงใน เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.

                      133   ผู้สนใจเกี่ยวกับช่องทางการนำสิทธิมนุษยชนในกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้อ้างอิงในระบบกฎหมาย
                   และศาลไทย โปรดดู รัฐธรรมนูญ มาตรา 257 และเนื้อหาในบทที่ 2 หน้า 42 – 45; และโปรดดู บรรเจิด สิงคะเน
                   ติ,“การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชน”, วารสาร
                   นิติศาสตร์, ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2553).

                      134   Concluding Observations of the Human Rights Committee: Republic of Moldova,
                   26 July 2002, CCPR/CO/75/MDA, § 16. <http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/0/7945fe5e49
                   47c21bc1256c3300339d88?Opendocument>
   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316   317