Page 309 - kpi12821
P. 309

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                       กษัตริย์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์อยู่
                       เป็นนิจ... [หากกำหนดให้พระองค์ – เพิ่มโดยผู้เขียน] ทรงมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
                       ย่อมจะก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกันกับหลักการเกี่ยวกับการดำรงอยู่
                       เหนือการเมืองและความเป็นกลางทางการเมืองของพระมหากษัตริย์” 121


                               หลักพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมืองและหลักความเป็นกลาง
                    ทางการเมืองที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างไว้ข้างต้น ไม่ปรากฎในบทบัญญัติมาตราใดๆ ใน
                    รัฐธรรมนูญ   หากแต่ถือเป็นหลักการหนึ่งของหลักประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
                              122
                    ทรงเป็นประมุข อันเป็นหลักการระดับโครงสร้างพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ หรือเป็น
                    “คุณค่าพื้นฐาน” ของรัฐธรรมนูญไทย จากกรณีตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่า ศาล

                    รัฐธรรมนูญไทยตีความคำว่า “บุคคล” ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเทียบ
                    ได้กับมาตรา 70 ของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน โดยพิจารณาถึงโครงสร้างพื้นฐานของ
                    รัฐธรรมนูญทั้งระบบ และเปรียบเทียบระดับคุณค่าทางรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติ

                    ที่ขัดกัน จากนั้นจึงวินิจฉัยตีความให้บทบัญญัติหนึ่ง ๆ สอดคล้องกับคุณค่าพื้นฐาน
                    ดังกล่าวนั้น   ทั้งนี้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญไทยจะมิได้ให้อรรถาธิบายในเชิงทฤษฎีไว้โดย
                              123
                    ชัดแจ้งดังเช่นในเนื้อหาคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันที่ยกมาอ้างอิงข้างต้น
                    ก็ตาม แต่ก็สามารถอนุมานถึงนิติวิธี “การตีความในเชิงโครงสร้างกฎหมาย” นี้ได้


                               ส่วนปัญหาว่า อะไรคือ หลักการอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ
                    ซึ่งจะมีสภาพบังคับเหนือกว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตราอื่นๆ นั้น ก็เป็นดังเช่นที่กลุ่ม
                    5 คณาจารย์อธิบายไว้ คือ ให้พิจารณาจากความในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเอง ในเมื่อ

                    รัฐธรรมนูญรับรองไว้ในมาตรา 291 (1) วรรคสองว่า “ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม
                    รัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
                    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้” ก็สะท้อน

                    ชัดอยู่ในตัวเองว่า แม้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจต่อเนื่องจากอำนาจ


                       121   นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญยังอาศัยจารีตประเพณีมาอธิบายประกอบการวินิจฉัยดังกล่าวด้วย; ศร. ที่ 6/
                    2543 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 – เรื่องคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
                    ขอบเขตการใช้บังคับตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ [รจ. ล. 117 ต.68ก (19 กรกฎาคม 2543) น. 1 – 110]
                    น. 6.
                       122   แม้ไม่ปรากฏชัดแต่ก็สะท้อนจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 3 มาตรา 8 และมาตรา 195.

                       123   สมมุติต่อไปอีกว่า หากศาลรัฐธรรมนูญตีความอย่างเคร่งครัดตามลายลักษณ์อักษรให้ ทุกพระองค์ซึ่งล้วน
                    แล้วแต่มี “สภาพบุคคล” ต้องมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว ก็คงนำมาซึ่งผลการตีความกฎหมายที่พิลึก และดึงดูด
                    คำวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงหนักหน่วงเป็นแน่
   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313   314