Page 307 - kpi12821
P. 307
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนเกินสมควร ขัดต่อหลักความเสมอภาค หลัก
ความได้สัดส่วน หลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐ ดังได้กล่าวมาแล้ว
อนึ่ง ในเรื่องนี้ คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5 ท่าน นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เคยวิเคราะห์วิจารณ์ไว้ล่วงหน้า
แล้วว่า การตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในลักษณะดังกล่าวนั้น “ย่อมฝืนต่อ
สามัญสำนึกของวิญญูชนทั่วไป” และเสนอให้ “พิจารณาระบบกฎหมายทั้งระบบ
113
พิจารณาหลักเกณฑ์อันเป็นเสาหลักที่ยึดโยงระบบกฎหมายนั้นไว้ตลอดจนพิจารณา
จากวัตถุประสงค์ของบทกฎหมายบทนั้น (ratio legis) หลักเกณฑ์การตีความ
ดังกล่าวมานี้เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เกิดการตีความกฎหมายที่ส่งผลอันประหลาด
และขัดกับสำนึกในเรื่องความยุติธรรม” พร้อมทั้ง ยังอธิบายต่อว่า ในกรณีที่
114
รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติซึ่ง
“...ฝ่าฝืนกับหลักเหตุผลเช่นนี้ ในการตีความรัฐธรรมนูญตลอดจนกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง... จึงต้องตีความกฎหมายไปในทางแก้ไขให้สอดรับกับหลักการพื้นฐานของ
รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพราะบทบัญญัติที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญนั้น มีทั้งบทบัญญัติที่เป็น
คุณค่าพื้นฐานและบทบัญญัติที่เป็นรายละเอียด บทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญที่
ปรากฏในรัฐธรรมนูญย่อมได้แก่ หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและหลัก
ราชอาณาจักรที่เป็นรัฐเดี่ยวซึ่งรัฐธรรมนูญเองก็ได้รับรองไว้ในมาตรา 291 ห้ามมิให้
เสนอญัตติขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง เท่ากับว่ารัฐธรรมนูญได้ยกคุณค่าของเรื่องดังกล่าวนี้
ให้สูงกว่าบทบัญญัติอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น ในมาตรา 3 วรรคสองของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ก็ได้บัญญัติให้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตาม
รัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรมและบทบัญญัติใน
มาตรา 29 ก็บัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ การจำกัดตัดทอนสิทธิ
เสรีภาพของบุคคลจะต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญ
ของสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ ซึ่งย่อมหมายว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
จะต้องกระทำตามหลักความพอสมควรแก่เหตุเท่านั้น” 115
113 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และคณะ, แถลงการณ์ของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฉบับที่ 6, ข้อ 5; ผู้สนใจเกี่ยวกับนิติวิธีการตีความกฎหมายมหาชน โปรดดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “การใช้และการ
ตีความกฎหมายมหาชน,” วารสารวิชาการศาลปกครอง, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) 2551.
114 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และคณะ, เรื่องเดิม, ข้อ 4.
115 เรื่องเดียวกัน, ข้อ 7.