Page 302 - kpi12821
P. 302

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                             รัฐธรรมนูญไทยได้สถาปนาคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ขึ้นเป็น

                   องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ทั้งในด้านการวางกฎเกณฑ์ทั่วไปใน
                   รูปกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้ง สืบสวน
                   และสอบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและกฎหมายอื่นๆ ที่
                                                                                  98
                   เกี่ยวข้อง ตลอดจนวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย  ในการนี้
                   ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2540 เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การบัญญัติกฎหมายให้ กกต.

                   มีอำนาจวินิจฉัยเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมิได้ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจแต่อย่างใด 99

                             ประเด็นปัญหาที่ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ ณ ที่นี้ก็คือ การใช้อำนาจในการ

                   วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของ กกต. นั้น เป็นการใช้อำนาจตุลาการหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็น เมื่อ
                                                                   100
                   กกต. ได้วินิจฉัยไปแล้ว ข้อพิพาทดังกล่าวย่อมเป็นอันยุติ  หรือการวินิจฉัยข้อพิพาท
                   ของ กกต. นี้ เป็นเพียงการใช้อำนาจกึ่งตุลาการ ที่ยังคงต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุม

                   ตรวจสอบโดยศาล ทั้งนี้ การจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้นั้นจำเป็นจะต้องวิเคราะห์
                   สถานะทางกฎหมายของ กกต. เสียก่อนว่า กกต. เป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการหรือไม่

                             องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งขององค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการก็คือ การที่
           0       มิอาจริเริ่มกระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทได้ด้วยตนเอง (nemo judex sine

                                                       101
                   actore – No Judgment without Actor)  กล่าวคือ หากมิได้มีการเสนอคำร้องหรือ
                   คำฟ้องมายังองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ องค์กรดังกล่าวจะก้าวล่วงเข้าไปตัดสินข้อพิพาท
                   ไม่ได้ ในประเด็นนี้ จะเห็นได้ว่า กกต. มีอำนาจที่จะริเริ่มดำเนินการสืบสวนสอบสวน

                                                                                  102
                   การกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งได้เอง (ex officio) โดยไม่ต้องอาศัยคำร้อง  เสมือน
                   หนึ่งเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองผู้บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้น การใช้
                   อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดของ กกต. จึงไม่เข้าข่ายองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการ


                      98   ร.ธ.น., 2550, ม. 229 – 241.

                      99   ศร. ที่ 54-55/2543 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2543 – เรื่องร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
                   การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา 17 (เพิ่มมาตรา 85/1
                   มาตรา 85/3 มาตรา 85/8 และมาตรา 85/9 ) มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ [รจ. ล. 118 ต.71ก (31
                   สิงหาคม 2544) น. 1 – 313] น. 13 – 15.

                      100   บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิม, น. 364.
                      101   เรื่องเดียวกัน, น. 365.

                      102   ร.ธ.น., 2550, ม.236 (5); พรป. คณะกรรมการการเลือกตั้ง 2550, ม.10 (10); และ พรป. การเลือกตั้ง
                   ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550
   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307