Page 298 - kpi12821
P. 298

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                        3.6 การตีความให้คำวินิจฉัยของ กกต. เป็นที่สุด และให้มี

                           ผลผูกพันการวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมืองของ
                           ศาลรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ

                             หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) นั้น เป็นหลักการ
                   พื้นฐานของ “หลักนิติรัฐ” หรือ “Rechtsstaat” ในระบบกฎหมายเยอรมัน และ
                   “L’État de Droit”ในระบบกฎหมายฝรั่งเศส  ถือเป็นองค์ประกอบในทางรูปแบบ
                                                           80
                   อันจะขาดเสียมิได้ของหลักนิติรัฐ  “เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้อำนาจโดยมิชอบ กรณี
                                               81
                   จำเป็นต้องกระจายสิ่งต่างๆ เพื่อให้อำนาจยั้บยั้งการใช้อำนาจ”  อันจะเป็นหลัก
                                                                            82
                   ประกันมิให้องค์กรของรัฐแต่เพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่งผูกขาดอำนาจรัฐ และนำไปสู่
                   การใช้อำนาจริดลอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามอำเภอใจ ในขณะที่ “หลัก
                   นิติธรรม” (Rule of Law) ของระบบกฎหมายอังกฤษนั้น มิได้ถือว่าหลักการแบ่งแยก
                   อำนาจเป็นองค์ประกอบสำคัญ  อันเห็นได้ชัดจากข้อเท็จจริงก่อนการปฏิรูประบบศาล
                                             83
                   อังกฤษในปี ค.ศ. 2009 ที่ว่า สภาขุนนาง (House of Lords) เคยทำหน้าที่ทั้งในทาง
                   นิติบัญญัติและทางตุลาการ 84


                             แต่กระนั้นก็ดี ไม่ว่า “หลักนิติรัฐ” หรือ “หลักนิติธรรม” ต่างก็มี
                   องค์ประกอบข้อหนึ่งที่ตรงกันคือ หลักความเป็นอิสระขององค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการ
                                                                                          85

                      80   ธานินทร์ กรัยวิเชียร, เรื่องเดิม, น. 11 – 13; ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, เรื่องเดิม, น. 26; บรรเจิด สิงคะเนติ,
                   เรื่องเดิม, น. 25–26; วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, “นิติรัฐ: หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญเสรีประชาธิปไตย,”
                   ใน ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานในกฎหมายมหาชน, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2540) น. 5; N. W. Barber,
                   เรื่องเดิม, น. 443–454; Laurent Pech, “Rule of Law in France,” ใน Randell P. Peerenboom (ed.),
                   Theories and Implementation of Rule of Law in Twelve Asian Countries, France and the
                   United States, (New York: Routledge, 2004) น. 79 – 111.
                      81   วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม,” เรื่องเดิม.
                      82   เป็นข้อความของ Montesquieu ในหนังสือเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย แปลโดย ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์,
                   เรื่องเดิม, น. 31.
                      83   “อังกฤษนำหลักนิติธรรมไปปรับใช้กับศาลยุติธรรมเท่านั้น,”ธานินทร์ กรัยวิเชียร, เรื่องเดิม, น. 19.
                      84   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2009 ศาลสูงสุดแห่งสหราชอาณาจักร (The Supreme Court of the United
                   Kingdom) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการปฎิรูปรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2005 (Constitutional Reform Act 2005)
                   มีผลเป็นการแยกฝ่ายตุลาการออกจากฝ่ายบริหารคือ Lord Chancellor เปรียบได้กับรัฐมนตรียุติธรรม
                   ซึ่งจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการพิพากษาคดี และแยกฝ่ายตุลาการออกจากฝ่ายนิติบัญญัติคือ ศาลสูงสุดนี้มิใช่คณะ
                   กรรมาธิการตุลาการในสภาขุนนาง (House of Lords) อีกต่อไป; โปรดดู Rodney Brazier, Constitutional
                   Reform, (Oxford: Oxford University Press, 2008) น. 150 – 158.
                      85   วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม,” เรื่องเดิม; อาจจะต่างกันบ้างตรงที่บางท่านอธิบายว่า
                   “หลักนิติรัฐ” จัดให้ “หลักความเป็นอิสระขององค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการ” เป็นแขนงหนึ่งของหลักการแบ่งแยก
                   อำนาจ ในขณะที่ “หลักนิติธรรม” ถือว่าหลักความเป็นอิสระดังกล่าวเป็นสาขาย่อยของหลักนิติธรรมโดยตรง.
   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303