Page 293 - kpi12821
P. 293

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                               แต่กระนั้นก็ดี อาจมีผู้โต้แย้งว่า การตีความของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว

                    มิใช่กรณีที่กรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องรับผิดในการกระทำของคนอื่น หากแต่
                    เป็นกรณีที่กรรมการบริหารพรรคต้องรับผิดในการ “ละเว้น” กระทำการของตนเอง
                    เนื่องจากกฎหมายพรรคการเมืองได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารพรรคมีหน้าที่
                    เฉพาะในการควบคุมไม่ให้ผู้ซึ่งพรรคการเมืองส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งกระทำการฝ่าฝืน
                    รัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งอาจทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและ

                    เที่ยงธรรมอยู่แล้ว  ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่อาจอ้างอิงหลักกฎหมายต่างๆ ที่อธิบายมา
                                    67
                    ข้างต้นได้


                               อย่างไรก็ดี แม้อาจเป็นเช่นที่ว่ามาก็ตาม ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า การปฏิเสธ
                    ไม่พิจารณาข้อเท็จจริงเฉพาะราย และไม่เปิดโอกาสให้พิสูจน์หักล้างเป็นอย่างอื่นได้นั้น
                    ย่อมขัดต่อหลักนิติธรรม ดังตัวอย่างง่ายๆ ต่อไปนี้


                                สมมุติว่า กรรมการบริหารพรรคชาติไทยคนหนึ่งนอนป่วยไม่ได้สติอยู่ในห้อง
                       ICU ตั้งแต่ก่อนมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง และตลอดระยะเวลาที่มีการ
                       ทุจริตเลือกตั้ง กรณีเช่นนี้ ไม่อาจมีทั้ง “กระทำการ” “งดเว้นกระทำการ” หรือ
                       “ละเว้นกระทำการ” ได้เป็นแน่  หากแต่เมื่อกรรมการบริหารพรรคคนนี้ ฟื้นขึ้นมา     1
                                                68
                       ก็ต้องถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์โต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ และศาลก็ให้คำ
                       อธิบายง่ายๆ ว่า “บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบังคับตามกฎหมาย... ซึ่งศาลไม่อาจ
                                             69
                       ใช้ดุลพินิจสั่งเป็นอื่นได้...”   เช่นนี้ ถือเป็นการตีความกฎหมายที่เป็นธรรมหรือไม่
                       67   พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 18 วรรคสอง; อนึ่ง ข้อโต้แย้งข้างต้น ผู้เขียนสมมติขึ้น เพราะศาล
                    รัฐธรรมนูญมิได้อธิบายไว้เช่นนี้โดยตรง.
                       68   กรณีเช่นนี้ “ไม่รู้สำนึก” จึงไม่มี “การกระทำ” อันเป็นองค์ประกอบของกฎหมาย โปรดดู; จิตติ ติงศภัทิย์,
                    เรื่องเดิม, น. 145; เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, เรื่องเดิม, น. 72; คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคทั่วไป,
                    (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2551) น. 172 – 173; และในทางแพ่งก็เช่นเดียวกัน โปรดดู ศนันท์กรณ์
                    โสตถิพันธุ์, เรื่องเดิม, น. 55 – 67.
                       69   โปรดดู คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 98; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 16; คดีพรรค
                    พลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 23; ทั้งนี้ อาจมีผู้แย้งว่า การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้น มิใช่ความรับผิด หากแต่เป็น
                    มาตรการบังคับของกฎหมายในทำนองเดียวกันกับการพักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาต และมิใช่โทษตาม
                    กฎหมาย แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนกลับมิได้เห็นเช่นนั้นโดยเฉพาะเมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของหลาย
                    ประเทศ ซึ่งต่างก็ถือว่า การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นโทษเกี่ยวเนื่องกับโทษอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา
                    เยอรมัน (Strafgesetzbuch) § 45 เรียกว่า “ผลข้างเคียงของโทษทางอาญาหลัก” (Nebenfolgen – Collateral
                    Consequences) ประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส (Code penal)  Sous-section 3 เรียกว่า “โทษเพิ่มเติม”
                    (Des peinescomplémentaires– Additional penalties); โปรดดู ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, “รายงานสรุป
                    โครงการวิจัย เรื่อง “ศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดชั้นโทษและการนำไปปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญา,”
                    ดุลพาห, เล่ม 2 ปีที่ 53 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2549); และโปรดดู บทที่ 3 กฎหมายเยอรมัน ในหน้า 101 -
                    102 และบทที่ 4 กฎหมายสเปน  ในหน้า 134 – 135.
   288   289   290   291   292   293   294   295   296   297   298