Page 292 - kpi12821
P. 292

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                             แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีแรกหรือกรณีที่สองกฎหมายก็จะเปิดช่องให้มี

                   การปฏิเสธความรับผิดได้ เช่น เมื่อบิดามารดาพิสูจน์ได้ว่า “ได้ใช้ความระมัดระวังตาม
                   สมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น” หรือเมื่อผู้รับใบอนุญาตพิสูจน์ได้ว่า การกระทำของ
                                                                   62
                   ลูกจ้างนั้น “เป็นการสุดวิสัยที่ตนจะล่วงรู้หรือควบคุมได้”  ก็อาจถือเป็นเหตุให้ไม่ต้อง
                   รับผิดในการกระทำของบุตรผู้เยาว์หรือลูกจ้าง แล้วแต่กรณีได้ หรือในกรณีกรรมการใน
                   คณะกรรมการต่างๆ ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่า “มิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วยกับการกระทำ

                   ผิดดังกล่าว” “มิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิด” หรือ “ได้คัดค้านในที่ประชุม
                   โดยปรากฎในรายงานการประชุม หรือทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธานที่ประชุมภายใน
                                                   63
                   สามวันนับแต่สิ้นสุดการประชุมแล้ว”  ฯลฯ และยิ่งถ้าเป็นความรับผิดทางอาญา ศาล
                   ก็ยิ่งจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและพฤติการณ์โดยละเอียด เพื่อพิเคราะห์ถึง “เจตนา”
                   ในการกระทำความผิดของกรรมการเป็นรายๆ ไป   64


                             ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่า การตีความให้กรรมการบริหารพรรคคนอื่นที่
                                                                                          65
                   มิใช่ผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและเป็นสาเหตุของการยุบพรรคการเมืองดังกล่าว
                   ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามไปด้วย โดยมิได้คำนึงถึงพฤติการณ์และข้อเท็จจริง
                   เฉพาะรายของบุคคลนั้นๆ ซ้ำร้ายยังไม่เปิดโอกาสให้บุคคลดังกล่าวพิสูจน์หักล้างเป็น
           0
                   อย่างอื่น ย่อมถือเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรม ทั้งในส่วนของแนวคิด “ความรับผิด

                   เฉพาะบุคคลผู้กระทำ” (Personal Guilt) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สิทธิที่จะได้รับ
                   การพิจารณาอย่างเป็นธรรม” (audi alteram partem - Right to a Fair Hearing)
                   อันเป็นหลักการย่อยของหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ (Natural Justice) ซึ่งเป็นที่

                   ยอมรับกันทั่วไปในฐานะที่เป็นหนึ่งในแกนกลางของหลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐ 66

                      62   พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525, ม. 19 วรรคสอง; หรือ ป.พ.พ., ม.425 อาจต่อสู้
                   ว่า “มิใช่ในทางการที่จ้าง” ได้
                      63   พรบ. บริษัทมหาชนจำกัด 2535, ม. 92 และ ม. 94; พรบ. ความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงาน
                   ของรัฐ 2542, ม. 9.
                      64   โปรดดู คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีหมายเลขแดงที่ อม.
                   10/2552 (คดีหวยบนดิน) ซึ่งบุคคลที่เป็นรัฐมนตรีและร่วมประชุมในคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าวล้วนแล้วแต่ถูกฟ้อง
                   เป็นจำเลย แต่ศาลพิพากษาตัดสินว่ามีความผิดเฉพาะตัวอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง
                   โดยตรงเท่านั้น.
                      65   โปรดเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญตุรกี: Constitution of the Republic of Turkey, November 7,
                   1982 (As amended on October 17, 2001), art. 69 para. 8.
                      66   โปรดดู William Wade และ Christopher Forsyth, Administrative Law, (Oxford: Oxford
                                th
                   University Press, 8  edition, 2000) น. 435 – 444 และ น. 468 – 547; Ulrich Karpen, เรื่องเดิม, น. 178
                   – 179; นอกจากนั้น ยังเป็นการละเมิดสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างธรรม (Right to a Fair Trial) ซึ่งรับรอง
                   ไว้รัฐธรรมนูญ มาตรา  40 (2) และ (3) และตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                   (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ข้อ 14 ที่ไทยเป็นภาคีอีกด้วย
   287   288   289   290   291   292   293   294   295   296   297