Page 289 - kpi12821
P. 289

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                               และที่สำคัญ เมื่อพิจารณาในมิติความสัมพันธ์ระหว่างด้านหนึ่งคือ

                    พฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำทุจริตเลือกตั้งโดยผู้สมัครรายเดียวหรือ
                    สองราย ทำการทุจริตในเขตเลือกตั้งเดียว ซึ่งแม้อาจจะกระทบต่อความสุจริตและ
                    เที่ยงธรรมในผลการเลือกตั้งทั้งในระบบแบ่งเขตและระบบสัดส่วน (เดิม) หรือระบบ
                                                                                    49
                    บัญชีรายชื่อ (ปัจจุบัน) สำหรับคะแนนเสียงที่มาจากเขตเลือกตั้งนั้นๆ ก็ตาม  หรือแม้
                    พรรคการเมืองจะได้ประโยชน์จากการที่มี ส.ส. มากขึ้นอีกหนึ่งหรือสองคนก็ตาม กับอีก

                    ด้านหนึ่งคือ ผลกระทบที่มีต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล คือ นิติบุคคลพรรคการเมืองที่
                    ต้องถูกยุบไป และบุคคลต่างๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองซึ่งต้องถูกยุบ
                    กลุ่มทางการเมืองไป ทั้งๆ ที่สมาชิกเหล่านั้นมิได้กระทำผิดและมิได้มีหน้าที่ในการ

                    ควบคุมมิให้ผู้สมัครของพรรคกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งแล้ว  จะเห็นได้ว่า เป็นการ
                                                                        50
                    บังคับใช้กฎหมายที่รุนแรงเกินไป ไม่ได้สัดส่วนกับพฤติการณ์และความเกี่ยวข้องกับ
                    กระทำความผิด


                          3.3 การตีความให้กรรมการบริหารพรรคมีความรับผิด
                             ในการกระทำของบุคคลอื่น โดยไม่อาจโต้แย้งเป็นอย่าง
                             อื่นได้นั้น ไม่สอดคล้องกับหลักความรับผิดเฉพาะ

                             บุคคลผู้กระทำ


                               ด้วยเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวางหลักไว้ว่า เมื่อมีกรณีต้องยุบ
                    พรรคการเมืองตามมาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ และมาตรา 103 วรรคสอง
                    ของกฎหมายเลือกตั้งแล้ว ย่อมส่งผลให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหาร

                    พรรคการเมืองนั้นถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามไปด้วย เพราะถือว่าเป็นบทบังคับ
                                                                 51
                    เด็ดขาดที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพิเคราะห์
                       49   คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย – กกต. สั่งงดการประกาศผลการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดปราจีนบุรี
                    และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัคร 1 รายคือ นายสุนทร วิลาวัลย์; คดีพรรคชาติไทย – กกต. สั่งงดการประกาศผล
                    การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดชัยนาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัคร 2 รายคือ นายมณเฑียร และ
                    นางนันทนา สงฆ์ประชา; คดีพรรคพลังประชาชน – ศาลฎีกาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัด
                    เชียงรายของผู้สมัคร 2 รายคือ นายยงยุทธ และนางสาวละออง ติยะไพรัช แต่ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเฉพาะ
                    นายยงยุทธ ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น; โปรดดู คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 80 – 84; คดีพรรคมัชฌิมา-
                    ธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 2 – 3; คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 2 – 5.

                       50   กฎหมายพรรคการเมือง มาตรา 18 วรรคสอง กำหนดให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่
                    ต้องควบคุมพฤติกรรมของผู้สมัครของพรรคมิให้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่มิได้กำหนดหน้าที่นี้ไว้แก่สมาชิก
                    ทั่วไปของพรรคการเมือง

                       51   คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 100; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 19; คดีพรรคพลังประชาชน,
                    เรื่องเดิม, น. 26.
   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294