Page 287 - kpi12821
P. 287

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                               จริงอยู่ ผู้เขียนตระหนักและยอมรับว่า “ความผิดในการทุจริตซื้อสิทธิ

                    ซื้อเสียงในการเลือกตั้งเป็นความผิดที่มีลักษณะพิเศษที่ผู้กระทำจะใช้วิธีการ
                    อันแยบยลยากที่จะจับได้” และ “เป็นความผิดที่ร้ายแรงและเป็นภัยคุกคามต่อ
                                                             42
                    การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของประเทศ”  แต่ลำพังการทุจริตโดยผู้สมัครหรือ
                    กรรมการบริหารพรรคเพียงแค่คนเดียว สองหรือสามคนในเขตเลือกตั้งของตน แต่กลับ
                    ส่งผลรุนแรงถึงขนาดพรรคการเมืองดังกล่าวต้องถูกยุบไป ทำให้ผู้สมัครรายอื่นของพรรค

                    ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ต้องไปหาสังกัดพรรคใหม่ มิเช่นนั้น ย่อมพ้นจากสมาชิกภาพ
                        43
                    ส.ส.  และมีผลเป็นการริดรอนเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของบรรดา
                    สมาชิกของพรรคการเมืองนั้น อีกทั้งยังนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการ

                    บริหารพรรคคนอื่นๆ ที่อาจมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิดด้วยเลยแม้แต่น้อย ก็ย่อม
                    เป็นการตีความและบังคับใช้กฎหมายที่เกินกว่าเหตุ กล่าวคือ


                               ในการพิเคราะห์ตามนิติวิธีหลักความได้สัดส่วนนั้น จะเริ่มต้นจากมิติความ
                    สอดคล้องเหมาะสมของมาตรการกับเป้าหมายว่าจะทำให้บรรลุผลเช่นที่ต้องการได้จริง
                    หรือไม่ และแน่นอนว่า การยุบพรรคการเมืองย่อมเป็นหนึ่งในบรรดาหลายๆ มาตรการ
                    ที่มีผลเป็นการยับยั้งป้องปราม (Deterrent Effect) มิให้มีการทุจริตเลือกตั้งซ้ำอีกได้ 44


                               ต่อมาจึงพิจารณาในมิติการเลือกใช้มาตรการที่หนัก – เบาตามระดับความ
                    จำเป็น ตรงจุดนี้เองที่ศาลรัฐธรรมนูญมิได้พิเคราะห์ให้แจ้งชัดว่า ที่ผ่านมา มาตรการ
                    อื่นๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง ทั้งในทางแพ่งโดยการเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายใน

                    การจัดการเลือกตั้งใหม่ และในทางอาญาซึ่งมีทั้งโทษปรับ จำคุก และเพิกถอนสิทธิ
                    เลือกตั้งนั้น  มิได้ทำให้บรรลุเป้าหมายอันชอบธรรมดังกล่าวได้อย่างไร อันจะสะท้อนถึง
                             45
                    ความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการยุบพรรคเท่านั้นจึงจะแก้ไขปัญหาที่ว่ามาได้ คงอธิบาย
                    เพียงแต่ว่า นักการเมืองส่วนหนึ่งใช้การซื้อเสียงกันมานาน “จนเป็นความเคยชินแล้ว

                    กลายเป็นจุดเปราะบางทางการเมืองที่นักการเมืองผู้กระทำไม่รู้สำนึกว่าเป็นการ


                       42   คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 98 และ 100; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 16 และ 17;
                    คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 23 และ 25; ผู้สนใจเกี่ยวกับเทคนิคการโกงเลือกตั้ง โปรดดู พิชาย รัตนดิลก
                    ณ ภูเก็ต, ระบบการทุจริตเลือกตั้ง (กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา สถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก), 2537);
                    พรพล เอกอรรถพร, เปิดโปงกลโกงเลือกตั้ง, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน, 2548)

                       43   ร.ธ.น., ม. 106 (8)
                       44   โปรดดู ความเห็นในการวินิจฉัยส่วนตน นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีพรรค
                    ชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 110; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 29; คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 39.
                       45   พรป. การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550, ม. 113, ม. 137 ฯลฯ.
   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292