Page 284 - kpi12821
P. 284

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   ในกิจการต่างๆ อันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกเท่านั้น ซึ่งกรณีเช่นนี้ กรรมการบริหารคนอื่น

                   จะกระทำการแทนหัวหน้าพรรคและมีผลผูกพันพรรคได้ ก็ต่อเมื่อมีการมอบหมายเป็น
                                                  28
                   หนังสือจากหัวหน้าพรรคเท่านั้น”  โดยศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลไว้ว่า การยุบ
                   พรรคการเมืองด้วยเหตุข้อนี้เป็นไป


                            “ในทำนองเดียวกันกับหลักความรับผิดของนิติบุคคลทั่วไปที่ว่า ถ้าผู้แทนของ
                      นิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลไปกระทำการใดที่อยู่ในขอบ
                      วัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลจัก
                      ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้แทน หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้น
                      ด้วย จะปฏิเสธความรับผิดชอบมิได้” 29

                             เหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญยกขึ้นกล่าวไว้ข้างต้นนั้นสอดคล้องกับแนว
                   บรรทัดฐานของศาลฎีกาไทยและหลักกฎหมายของหลายๆ ประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับ
                   หลักความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล  ซึ่งผู้กระทำผิดเป็นผู้แทนนิติบุคคล หรือเป็น
                                                    30
                   ผู้รับมอบอำนาจจากผู้แทนนิติบุคคล และแม้ว่าผู้กระทำผิดจะเป็นเพียงลูกจ้างธรรมดาๆ

                   ของนิติบุคคลนั้นๆ ก็ตาม ก็ยังคงมีหลักความรับผิดทางอาญาในการกระทำของ
                           31
                   บุคคลอื่น  ซึ่งอาจนำมาพิจารณาประกอบได้ โดยเฉพาะในกรณีที่นิติบุคคลเป็น
                   ผู้รับใบอนุญาตต่างๆ อาจต้องรับผิดในทางอาญา เพราะการกระทำของลูกจ้างที่กระทำ

                   ลงในทางการที่จ้าง  นอกจากนั้น ยังสอดคล้องกับหลักความรับผิดทางแพ่งของ
                                    32
                      28   สรุปความจาก คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 89; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 11; คดีพรรค
                   พลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 17; นอกจากนี้ ในความเป็นจริง คงไม่มีหัวหน้าพรรคคนใดทำหนังสือมอบหมายให้
                   กรรมการบริหารพรรคไปดำเนินการทุจริตเลือกตั้งแน่ ปัญหานี้ ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว ในคดี
                   พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย – ศร. ที่ 3 – 5/2550, เรื่องเดิม, น. 85.
                      29   คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 98; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 16; คดีพรรคพลังประชาชน,
                   เรื่องเดิม, น. 23.

                      30   โปรดดู ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติบุคคลและความ
                   รับผิดทางอาญาของนิติบุคคล, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2549) น. 233 – 240; และ สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์
                   วัฒนกุล, ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553) น. 69 –
                   79.

                      31   จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1, (กรุงเทพฯ : บริษัทกรุงสยามพริ้นติ้งกรุ๊ฟ
                   จำกัด, 2536) น. 477 – 488; และ เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, กฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป,
                   (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง, 2551) น. 308 – 310.

                      32   โปรดดู สืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล, ความรับผิดทางอาญาในการกระทำของบุคคลอื่น: การศึกษาทาง
                   กฎหมายเปรียบเทียบเกี่ยวกับความรับผิดของนายจ้างและผู้ถือใบอนุญาตโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประเทศไทย,
                   วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2532, น. 15 – 33, และ 76 – 99.
   279   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289