Page 279 - kpi12821
P. 279

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    แม้ศาลท่านจะ “เห็นใจ” แต่ก็ไม่อาจรับข้ออ้างเหล่านั้นเพื่อให้ “ไม่” สั่งยุบพรรค

                    การเมืองนั้นๆ ได้  14

                          นอกจากนั้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องบัญญัติไว้อย่างชัดเจน
                    ว่า ต้องมีการ “กระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน”

                    กฎหมายเลือกตั้ง “ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม”
                    ดังนั้น เงื่อนไขข้อหนึ่งก่อนการพิจารณาสั่งยุบพรรคการเมืองตามเหตุข้อนี้ก็คือ ต้องมี
                    การวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติแล้วว่า ได้มีการกระทำผิดอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
                           15
                                                          16
                    เลือกตั้ง  จึงจะดำเนินคดียุบพรรคการเมืองได้  ไม่ว่าจะเป็นกรณีวินิจฉัยการกระทำผิด
                    กฎหมายเลือกตั้ง ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งโดย กกต. ซึ่งผ่านการปรึกษาหารือกับ
                                         17
                    คณะกรรมการตรวจสอบ  หรือหลังประกาศผลการเลือกตั้ง อันจะอยู่ในอำนาจหน้าที่
                    ของศาลฎีกาในการพิจารณาวินิจฉัย  โดยศาลรัฐธรรมนูญถือว่า ข้อเท็จจริงต่างๆ
                                                    18
                    เกี่ยวกับการกระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายเลือกตั้ง ทั้งกรณีการวินิจฉัยก่อนและ
                    หลังการประกาศผลการเลือกตั้ง ย่อมเป็นอันยุติตามนั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจรับฟัง



                       14   คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 93 (คำชี้แจงของผู้ถูกร้อง) และ น. 99 (ข้อวินิจฉัยของศาล). คดีพรรค
                    พลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 16 - 17 (คำชี้แจงของผู้ถูกร้อง) และ น. 25 (ข้อวินิจฉัยของศาล); ทั้งนี้ มีข้อสังเกต
                    เล็กๆ ว่า ศาลท่านระบุ “เห็นใจ” คำชี้แจงของพรรคชาติไทย แต่ไม่เห็นใจพรรคพลังประชาชนเลย ทั้งๆ ที่พรรค
                    พลังประชาชนก็ยกข้อต่อสู้ในทำนองเดียวกันนี้

                       15   โปรดเทียบคดีพรรคไทยรักไทย ซึ่ง ณ ขณะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคไปนั้น ยังมิได้มีการดำเนิน
                    คดีอาญากับพลเอกธรรมรักษ์ อิสรางกูร ณ อยุธยา รองหัวหน้าพรรคผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่ศาล
                    รัฐธรรมนูญก็อ้างอิงถึงคดีการสั่งเพิกถอนการจัดการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 – ศร. ที่ 9/2549 ลงวันที่ 8
                    พฤษภาคม 2549 [รจ. ล. 123 ต.71ก (12กรกฎาคม 2549) น. 1 – 352]; แต่ทั้งนี้ เนื้อความในกฎหมายที่ใช้เป็น
                    ฐานในการยุบพรรคในกรณีดังกล่าวแตกต่างจากการยุบพรรคตามมาตรา 237 นี้
                       16   อย่างไรก็ดี อาจมีผู้โต้แย้งว่า กกต. อาจเริ่มกระบวนการยุบพรรคเพราะกระทำฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง
                    ตามมาตรา 237 วรรคสองได้ ก่อนที่กระบวนการวินิจฉัยความผิดจะเป็นอันยุติ เช่น ในกรณีที่มีการประกาศผล
                    การเลือกตั้งแล้ว กกต. พบเหตุทุจริต จึงเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่และเพิกถอนสิทธิ
                    เลือกตั้งผู้สมัคร และในขณะเดียวกันก็เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินคดียุบพรรคการเมืองไปพร้อมๆ กัน
                    แต่ทั้งนี้ ผู้วิจัยไม่เห็นด้วยกับมุมมองดังกล่าว ดังจะได้อธิบายในรายงานวิจัยฉบับต่อไป
                       17   รัฐธรรมนูญ, ม. 239 วรรคหนึ่ง; และพรป. การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550, ม. 103, และ
                    ม. 105; ซึ่งได้แก่ คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 96 – 97; และคดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 14 – 15.
                       18    รัฐธรรมนูญ, ม. 239 วรรคสอง; และพรป. การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550, ม. 111;
                    ซึ่งได้แก่ คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 21 – 22.
   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284