Page 278 - kpi12821
P. 278

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                        นอกจากนั้น สถานะของผู้สมัครในพรรคการเมืองก็ถือว่าสำคัญมาก เพราะหาก

                   ผู้สมัครที่กระทำผิดเป็นหัวหน้าหรือกรรมการบริหารพรรคเสียแล้ว ไม่ว่าจะดำรง
                                                                   10
                   ตำแหน่งในวาระปกติหรือดำรงตำแหน่งในฐานะรักษาการ  ศาลรัฐธรรมนูญย่อมถือว่า
                                                                                          11
                   กรณีดังกล่าวต้องด้วยเหตุยุบพรรคตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 วรรคสองโดยอัตโนมัติ
                   พรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองคนอื่นไม่สามารถโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้
                   เพราะในกรณีเช่นนี้ แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญเองก็ไม่มีดุลพินิจที่จะสั่งเป็นอย่างอื่น 12

                   มีเพียงทางเลือกเดียวคือ ต้องสั่งยุบพรรคเท่านั้น

                        ในทางตรงกันข้าม หากผู้สมัครที่กระทำผิดมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคหรือ

                   กรรมการบริหารพรรคการเมืองก็อาจมีการโต้แย้งได้ว่า พรรคการเมืองและกรรมการ
                   บริหารพรรคมิได้มีส่วนรู้เห็น มิได้ปล่อยปละละเลย หรือเมื่อทราบการกระทำดังกล่าว
                   ได้พยายามยับยั้งหรือแก้ไขแล้ว ซึ่งกรณีเช่นนี้ ศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีดุลพินิจที่จะรับฟัง

                                                                                   13
                   ข้อเท็จจริงตามมาตรา 237 วรรคสอง และอาจไม่สั่งยุบพรรคการเมืองนั้นก็ได้  และแม้
                   พรรคการเมืองอ้างว่า ได้กระทำการต่างๆ หลายอย่าง เช่น ให้ผู้สมัครลงชื่อให้สัญญากับ
                   พรรคว่า จะปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมายเลือกตั้ง ได้ออกประกาศคำสั่งหลายฉบับ
                   กำชับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือหัวหน้าพรรคได้กล่าวปราศรัยห้ามประชาชนขายเสียง

                   แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็เห็นว่า ถ้าผู้กระทำผิดเป็นกรรมการบริหารพรรคเองเสียแล้ว



                      10   หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย คือ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ลาออกจากตำแหน่ง จึงส่งผลให้กรรมการ
                   บริหารพรรคคนอื่นๆ พ้นจากตำแหน่งตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุที่ข้อบังคับพรรคระบุให้กรรมการบริหาร
                   ต้องทำหน้าที่ต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ดังนั้น แม้ขณะ
                   กระทำผิดจะดำรงตำแหน่งรักษาการ แต่พรรคก็ปฏิเสธความรับผิดไม่ได้; โปรดดู คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย,
                   เรื่องเดิม, น. 18.
                      11   ศาลรัฐธรรมนูญปฏิเสธแนวทางการตีความมาตรา 237 วรรคสอง ที่ว่า หากผู้กระทำผิดเป็นกรรมการ
                   บริหาร ต้องมีกรรมการบริหารพรรคคนอื่นร่วมรู้เห็น ปล่อยปละละเลย ด้วยอีกอย่างน้อย 1 คน หรือกล่าวอีก
                   นัยหนึ่ง ต้องมีผู้สมัคร 1 คน และกรรมการอีก 1 คน จึงจะครบองค์ประกอบตามมาตรา 237 วรรคสอง; โปรดดู
                   คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 99; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 17; คดีพรรคพลังประชาชน,
                   เรื่องเดิม, น. 24.
                      12   ในการนี้ ศาลตีความว่า ในเมื่อสมาชิกทั่วไปกระทำผิดและกรรมการบริหารพรรครู้เห็นก็ยังส่งผลให้ยุบ
                   พรรคการเมืองนั้น ฉะนั้นแล้ว เมื่อกรรมการบริหารพรรคกระทำผิดเสียเอง ก็ต้องยุบพรรคอย่างแน่นอน เพราะ
                   “เมื่อกฎหมายห้ามกระทำสิ่งชั่วร้ายใดไว้ สิ่งที่ชั่วร้ายมากกว่านั้นย่อมถูกห้ามไปด้วย ซึ่งตรงกับสามัญสำนึกของ
                   สุจริตชนทั่วไป และตรงกับตรรกะที่ว่า “ยิ่งต้องเป็นเช่นนั้น”; โปรดดู คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 99; คดี
                   พรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 16 – 17; คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 24.

                      13   ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ (กลาง) ทั้ง 3 คดี มิได้เขียนไว้ชัดเจนเช่นนั้น แต่ก็สามารถอนุมานจาก
                   เนื้อความคำวินิจฉัยได้ แต่โปรดดู ความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตนของนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ซึ่งจำแนกกรณี
                   ทั้งสองไว้ชัดเจนมาก; คดีพรรคชาติไทย เรื่องเดิม, น. 153 – 154.
   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283