Page 277 - kpi12821
P. 277

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต



                    1.  หลักเกณฑ์การยุบพรรคการเมืองด้วยเหตุ
                      กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง



                          องค์ประกอบข้อแรกของเหตุยุบพรรคข้อนี้ คือ ต้องมีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย
                    เลือกตั้ง หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไป
                    โดยสุจริตและเที่ยงธรรม อาทิ การจ้างพรรคเล็กให้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
                                                      4
                    และการรับจ้างเพื่อกระทำการดังกล่าว  การซื้อเสียง ไม่ว่าจะซื้อเพื่อตนเอง ซื้อเพื่อ
                                         5
                    ผู้สมัครร่วมพรรครายอื่น  ซื้อเพื่อพรรคที่ตนสังกัด หรือแม้แต่ซื้อเพื่อไม่ให้เลือกพรรค
                    หรือผู้สมัครคู่แข่ง ไม่ว่าในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตหรือการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (เดิม)
                    หรือแบบบัญชีรายชื่อ (ปัจจุบัน)  ทั้งที่ซื้อกับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเอง  หรือซื้อผ่าน
                                                                                 6
                                  7
                    กำนันผู้ใหญ่บ้าน  ต่างก็ถือเป็นการกระทำผิดที่นำไปสู่การยุบพรรคการเมืองด้วยเหตุ
                    ข้อนี้ได้ทั้งสิ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมีข้อห้ามอื่นๆ ในกฎหมายเลือกตั้งอีก 22 มาตรา
                                                        8
                    ที่อาจนำมาซึ่งการยุบพรรคตามเหตุข้อนี้ได้  ทั้งนี้ ยังตกหล่นมิได้นับรวมข้อห้ามอื่นๆ ที่
                    กำหนดไว้ในระเบียบหรือประกาศ กกต. ซึ่งน่าจะมีอีกหลายสิบข้อทีเดียว

                          ส่วนองค์ประกอบอีกข้อหนึ่งคือ ผู้กระทำนั้น ต้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

                    ไม่ว่าจะกระทำผิดฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งด้วยตนเอง ก่อ ใช้ จ้างวาน หรือสนับสนุนให้
                    ผู้อื่นกระทำผิด และแม้ขณะเวลาที่กระทำผิดยังมิได้ยื่นใบสมัครกับ กกต. ก็ตาม หากต่อมา
                    ได้สถานะเป็น “ผู้สมัคร” แล้วก็ถือว่าเข้าองค์ประกอบนี้ 9

                       4   พรป. การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550, ม. 54; เทียบคดีพรรคพัฒนาชาติไทย พรรค
                    แผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย – ศร. ที่ 3 – 5/2550 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 [รจ. ล. 124 ต.33ก (13
                    กรกฎาคม 2550) เล่ม 1 (น. 1 – 417) เล่ม 2 (น. 1 – 365)] เล่ม 1 น. 95 – 98.
                       5   อย่างไรก็ดี นายนุรักษ์ มาประณีต ตุลาการเสียงข้างน้อยในคดีพรรคชาติไทย เห็นว่า หากเป็นการกระทำ
                    เพื่อประโยชน์ของผู้สมัครเอง มิใช่ของผู้สมัครรายอื่นอันจะทำให้พรรคได้รับประโยชน์ ไม่เข้าองค์ประกอบข้อนี้
                    โปรดดู ความเห็นในการวินิจฉัยส่วนตนใน คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 133.

                       6   พรป. การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550, ม. 53; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 2;
                    และคดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 80 – 83.

                       7   คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 2 – 5; ซึ่งอ้างถึงคำสั่งศาลฎีกาที่ 5019/2551 ลงวันที่ 8
                    กรกฎาคม 2551.
                       8   นอกจากนี้ ยังมีข้อห้ามและฐานความผิดอื่นๆ ซึ่งแม้เนื้อความตามตัวบทจะไม่เกี่ยวกับ “ผู้สมัคร” แต่
                    ผู้สมัครก็อาจเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้ใช้หรือผู้จ้างวาน เช่น ใช้ให้มีการเล่นพนันขันต่อเกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง
                    หรือจ้างให้ประชาชนทำลายบัตรเลือกตั้ง ฯลฯ
                       9   คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 10 และ น. 22; และน่าคิดเหมือนกันว่า หากมีการกระทำฝ่าฝืน
                    กฎหมาย และต่อมาได้ยื่นใบสมัครแล้ว แต่ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งหรือกกต. และศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
                    ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม จึงไม่ใช่ผู้สมัคร ทั้งกรณีที่ไม่ประกาศให้เป็นผู้สมัครมาตั้งแต่ต้น หรือ
                    ประกาศแล้วแต่มาร้องขอให้ศาลฎีกาให้เพิกถอนการสมัครในภายหลัง เช่นนี้ จะเข้าองค์ประกอบข้อนี้ของเหตุยุบ
                    พรรคนี้หรือไม่ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าเข้าองค์ประกอบข้อนี้ด้วย; โปรดดู พรป. การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว.
                    2550, ม. 37 – 45.
   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282