Page 282 - kpi12821
P. 282
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
2.2 ลักษณะเฉพาะของพรรคการเมืองไทย
ด้วยเหตุที่พรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ยังมิใช่ “สถาบันทางการเมือง” ที่
มุ่งสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อให้
บรรลุซึ่งเจตนารมณ์ดังกล่าว หากแต่เป็นเพียงที่รวมกลุ่มของบุคคลซึ่งมีผลประโยชน์
24
ทางการเมืองร่วมกัน เพื่อแข่งขันในการเลือกตั้งโดยมุ่งหวังเข้าไปเป็นรัฐบาล ดังเช่นที่
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งระบุไว้ในความเห็นในการวินิจฉัยส่วนตนว่า
“...ปัญหาของพรรคการเมืองไทยมิได้เกิดจากการมีอุดมการณ์ร่วมกันของ
ประชาชนอย่างแท้จริง การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองส่วนใหญ่จะอยู่บน
พื้นฐานของผลประโยชน์ของบุคคลภายในพรรค โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นหัวหน้าพรรค
และกรรมการบริหารพรรค เมื่อมีการเลือกตั้งบุคคลเหล่านี้ก็จะสนับสนุนทุกวิถีทาง
เพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคได้รับเลือกตั้งให้มากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
จัดตั้งเป็นรัฐบาลเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อประโยชน์ของตนเองและพวก
พ้อง... ดังนั้นการกระทำใดๆ ของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหาร
พรรคการเมือง ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของพรรคการเมืองนั้น...” 25
0 ด้วยเหตุนี้ ตุลาการรัฐธรรมนูญหลายท่านจึงเห็นว่า แม้ว่าในทางหลักการ
พรรคการเมืองอันเป็นสถาบันพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ไม่สมควรที่จะยุบได้ง่ายก็ตาม “...แต่หากเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็งในทางทุจริต
แล้วย่อมเป็นการทำลายพรรคการเมืองที่สุจริตและการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย... [ดังนั้น – เพิ่มโดยผู้วิจัย] การยุบพรรคการเมืองที่กระทำผิดจึง
เป็นการปลูกฝังการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง...” 26
24 โปรดดู (1.) กนก วงศ์ตระหง่าน, พรรคการเมืองไทย, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2536), น. 44 – 45. (2.) วิทยา นภาศิริกุลกิจ และสุรพล ราชภัณฑารักษ์, พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์,
(กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประชาชน, 2524), น. 6. (3.) โกสินทร์ วงศ์สุรวัฒน์, พรรคการเมือง, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2521), น. 2. (4.) สุขุม นวลสกุล และคณะ, การเมืองการปกครองไทย, (กรุงเทพฯ:
หจก. ป. สัมพันธ์พาณิชย์, พิมพ์ครั้งที่ 6, 2528), น. 211-212.
25 ความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตน นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีพรรคชาติไทย,
เรื่องเดิม, น. 153, คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 75; คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 80.
26 ความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตน นายจรัญ ภักดีธนากุล ในคดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 37;
ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านอื่นแม้มิได้ระบุไว้ชัดในคำวินิจฉัย แต่ก็อนุมานความคิดของท่านเช่นนั้นได้.