Page 285 - kpi12821
P. 285
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
34
33
นิติบุคคล และหลักความรับผิดทางแพ่งในการกระทำของบุคคลอื่น ซึ่งในทาง
กฎหมายปกครองก็อนุโลมใช้หลักการเดียวกันนี้ ตัวอย่างเช่น หากลูกจ้างของโรงงาน
ปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงาน ไม่ว่าเจ้าของโรงงานจะรู้เห็นด้วยหรือไม่ เบื้องต้น โรงงาน
35
แห่งนั้นคงไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดในทางแพ่งได้ และอาจต้องรับผิดในทาง
ปกครอง เช่น ต้องโทษปรับทางปกครอง ถูกพักใช้ใบอนุญาต หรือแม้แต่อาจต้องรับโทษ
ในทางอาญา หากไม่สามารถพิสูจน์เป็นอย่างอื่นได้
อนึ่ง เนื่องจากพรรคการเมืองเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้าง
เจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไป
ตามเจตนารมณ์นั้น หรืออีกนัยหนึ่งคือการเข้าสู่อำนาจรัฐผ่านกระบวนการเลือกตั้ง
36
ดังนั้น หากมีการทุจริตในกระบวนการเลือกตั้งโดยผู้สมัครของพรรค ซึ่งแน่นอนว่า คง
ไม่มีพรรคการเมืองใดระบุไว้ชัดๆ ว่าจะกระทำการทุจริตเลือกตั้งในเอกสารหรือกิจกรรม
ที่เป็นทางการ และพรรคการเมืองก็ได้รับประโยชน์จากการกระทำผิดนั้นคือ ทำให้
37
พรรคการเมืองได้หรือ “จะ” ได้ ส.ส. เพิ่มขึ้น ก็ย่อมถือว่าเป็นการกระทำที่อยู่ใน
33 โปรดดู ป.พ.พ., ม. 70, ม. 76, ม. 77, ม. 797, และ ม. 820 – 823; โสภณ รัตนากร, คำอธิบาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท, (กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ, พิมพ์ครั้งที่ 11, 2551)
น. 388 – 395; ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้,
(กรุงเทพฯ: วิญญูชน, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2552) น. 109 – 117.
34 โปรดดู ป.พ.พ., ม. 425 – 427, และ ม. 429 – 431; สุษม ศุภนิตย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะละเมิด, (กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ, 2550) น. 104 – 139 และ 146 – 157;
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, เรื่องเดิม, น. 153 – 187.
35 เช่น ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อการบำบัดน้ำเสีย แต่เจ้าของโรงงาน
ก็สามารถไล่เบี้ยเอากับลูกจ้างผู้กระทำละเมิดได้ตาม ป.พ.พ., ม. 426.
36 โปรดดู พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 4 – บทนิยามคำว่า “พรรคการเมือง”, ม. 38 – 39, และ ม. 91
(2); คดีพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย, เรื่องเดิม, น. 94 – 98.
37 คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 98; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 16 – 17; คดีพรรคพลัง
ประชาชน, เรื่องเดิม, น. 23 – 24; คำว่า “จะ” ข้างต้น ผู้เขียนเพิ่มเข้าไปเอง ไม่ปรากฎในคำวินิจฉัยของศาล
เพราะกรณีที่ กกต. สั่งให้เลือกตั้งใหม่และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครก่อนประกาศผลนั้น พรรคการเมืองยัง
ไม่ทันจะได้รับประโยชน์เลย เช่น กรณีพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นพ้องด้วยกับ
คำอธิบายของศาล; อย่างไรก็ดี ตุลาการท่านหนึ่งคือ นายนุรักษ์ มาปราณีต จำแนกองค์ประกอบเรื่องการได้รับ
ประโยชน์นี้ออกเป็นสองกรณีคือ ซื้อเสียงเพื่อตนเอง กับซื้อเสียงให้พรรค และเห็นว่า จะเฉพาะกรณีหลังเท่านั้น
ที่จะถือเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมืองดังกล่าว; โปรดดู ความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตน; คดีพรรคชาติไทย,
เรื่องเดิม, น. 132 – 133; เทียบคดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 53 – 54; และคดีพรรคพลังประชาชน,
เรื่องเดิม, น. 59.