Page 288 - kpi12821
P. 288

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   กระทำความผิดที่ร้ายแรง...รัฐธรรมนูญ... จึงกำหนดมาตรการป้องกันและกำหนด

                   วิธีการลงโทษไว้อย่างชัดเจนและเข้มงวด”  และการทุจริตเลือกตั้งกระทำด้วยวิธีการ
                                                       46
                   ที่แยบยล จับกุมผู้กระทำผิดได้ยาก ทั้งนี้ เหตุผลในประการหลังเป็นเครื่องบ่งชี้ในตัวเองว่า
                   ปัญหาส่วนหนึ่งเป็นเรื่องกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้เขียน
                   ก็ไม่แน่ใจว่า มีหลักฐานข้อมูลทางสถิติที่ได้จากการวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical
                   Research) รองรับการให้เหตุผลเช่นนี้หรือไม่ เช่นเดียวกับข้อมูลสนับสนุนในเรื่องความ

                   ไร้ประสิทธิภาพของมาตรการลงโทษทางแพ่งและทางอาญาดังกล่าวมาข้างต้น

                             อนึ่ง แม้ว่าจะมีหลักฐานข้อมูลทางสถิติยืนยันการให้เหตุผลดังกล่าวก็ตาม

                   แต่มาตรการยุบพรรคการเมืองก็ยังคงมิใช่มาตรการที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพน้อยที่สุด
                   เพราะการยุบพรรคการเมืองนั้นกระทบต่อเสรีภาพในการดำรงอยู่ของพรรคการเมือง
                   และเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในนามพรรคการเมืองของบรรดา

                                                                                          47
                   สมาชิกของพรรคการเมืองนั้นๆ ซึ่งมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดด้วยเลย
                   แต่ทั้งนี้ สมมุติเรายอมรับว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้มาตรการที่รุนแรง ขจัดการ
                   ซื้อสิทธิขายเสียง และต้องลงโทษกรรมการบริหารพรรคเพราะปล่อยปละละเลยไม่ทำ
                   หน้าที่ควบคุมกันเองก็ตาม เป้าหมายดังกล่าวก็อาจทำให้บรรลุได้ด้วยการเพิกถอนสิทธิ

                   เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคเหล่านั้น โดยไม่ต้องสั่งยุบ

                               48
                   พรรคการเมือง  ซึ่งสมาชิกทุกคนของพรรคย่อมได้รับผลกระทบโดยตรง ดังนั้น การยุบ
                   พรรคการเมืองในกรณีนี้ จึงไม่สอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วนเพราะมิได้มีความ
                   จำเป็นต้องใช้มาตรการที่รุนแรงเช่นนั้น



                      46   คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 96; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 14; คดีพรรคพลังประชาชน,
                   เรื่องเดิม, น. 20.

                      47   อย่างไรก็ดี คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ว่า หากพรรคการเมือง “มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมือง
                   ที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริงหาก
                   แต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ... [ก็] ไม่อาจดำรงความ
                   เป็นพรรคการเมืองที่จะสร้างสรรค์และจรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองแก่ระบอบการปกครองของประเทศ
                   โดยรวมได้อีกต่อไป… [แม้] การสั่งยุบพรรคจะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อสมาชิกพรรคทั้งที่ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้อง
                   นั้น [แต่ก็] เป็นเรื่องที่หัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรค...จะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสมาชิกพรรค
                   ดังกล่าวเอง”; โปรดดู คดีพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย, เรื่องเดิม, เล่ม 1 น. 97.
                      48   โปรดดู ข้อเสนอข้อ 6 ของคณะกรรมการชุดที่มีศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เป็นประธาน
                   ซึ่งเสนอให้ ให้ยกเลิกการยุบพรรคการเมืองอันเนื่องมาจากการทุจริตในการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งแต่ให้
                   เปลี่ยนบทลงโทษผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ทุจริตการเลือกตั้งโดยตัดสิทธิเลือกตั้งห้าปี ส่วนกรรมการบริหารพรรค
                   ที่รู้เห็นตัดสิทธิเลือกตั้งสิบปี และหัวหน้าพรรคการเมืองที่รู้เห็นตัดสิทธิเลือกตั้งสิบห้าปี โดยถือว่าเป็นความผิด
                   เฉพาะบุคคล <http://www.dloc.opm.go.th/Source/TN029.pdf>
   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293