Page 291 - kpi12821
P. 291

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                                                                  56
                                                 55
                    โดยสัญญาเช่น นายจ้าง – ลูกจ้าง , ตัวการ – ตัวแทน  ซึ่งจะเห็นได้ว่า ฝ่ายนายจ้าง
                    ก็ดี ตัวการก็ดี เป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน หรือ
                                                                                   57
                    ตามสถานะหรือตำแหน่งของบุคคลนั้นๆ เช่น บิดามารดา – บุตรผู้เยาว์ , ผู้บังคับ
                    บัญชา – ผู้ใต้บังคับบัญชา  ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นกรณีที่มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ทั่วไปใน
                                         58
                    การกำกับดูแลพฤติกรรมของบุคคลผู้อยู่ในความปกครองหรือสายบังคับบัญชาและมี
                    พฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นได้ว่า ปล่อยปละละเลยหรือไม่ใส่ใจในหน้าที่ จนบุคคลอื่นมี

                    โอกาสไปการกระทำความผิดหรือละเมิด และเป็นเหตุให้ต้องรับผิดร่วมในการกระทำ
                    ดังกล่าวด้วย


                               และประการที่สอง เป็นกรณีองค์กรกลุ่ม (Collective/Collegial Body)
                    หรือคณะบุคคล กล่าวคือ บุคคลธรรมดาที่ประกอบกันเป็นกรรมการหรือสมาชิกใน
                    องค์กรหรือคณะบุคคลนั้นอาจต้องรับผิดร่วมกัน สำหรับการกระทำของกรรมการหรือ

                    สมาชิกคนอื่นๆ แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะมิได้กระทำในรูปมติของคณะกรรมการ
                    หากเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันไว้ เช่น กรรมการบริษัท
                                                                                           59
                                           60
                    หรือกรรมการบริษัทมหาชน  อาจต้องรับผิดร่วมกันในความเสียหายที่เกิดแก่ตัวบริษัท
                    เอง แก่ผู้ถือหุ้น หรือแก่เจ้าหนี้ของบริษัท หรือแม้แต่อาจต้องรับผิดในทางอาญา โดย
                    กฎหมายได้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากรรมการทุกคนต้องร่วมรับผิด 61


                       55   เช่น ป.พ.พ., ม. 425; พรบ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ 2525, ม. 19 วรรคสอง.
                       56   เช่น ป.พ.พ., ม. 427; พรบ. ประกันชีวิต 2535, ม. 70/1.
                       57   เช่น ป.พ.พ., ม. 429; พรบ. คุ้มครองเด็ก 2546, ม. 26 (3) ประกอบ ม. 78; โปรดดู ความเห็นในการ
                    วินิจฉัยคดีส่วนตนของนาย วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ; คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 141;
                    คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 62; คดีพรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 67.
                       58   เช่น พรบ. ระเบียบข้าราชพลเรือน 2551, ม. 87.
                       59   ป.พ.พ., ม. 1168; โปรดดู ประภาศน์ อวยชัย, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย
                    หุ้นส่วนและบริษัท, (กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2530) น. 310 – 314.
                       60   พรบ. บริษัทมหาชนจำกัด 2535, ม. 91, ม. 92 และ ม. 94; โปรดดู สหัส สิงหวิริยะ, คำอธิบายกฎหมาย
                    ว่าด้วย บริษัทมหาชน จำกัด, (กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ, 2550) น. 156 – 161.
                       61   เช่น พรบ. ความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542, ม. 9; พรบ. โรงงาน 2522, ม. 55
                    วรรคสาม, ม. 61 และ ม. 63; พรบ. การกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน 2527, ม. 15; โปรดดู โสภณ
                    รัตนากร, เรื่องเดิม, น. 426 – 427; อนึ่ง มีตุลาการท่านหนึ่งอธิบายความรับผิดของกรรมการบริหาร
                    พรรคการเมืองในกรณีนี้โดยเทียบเคียงกับหลักความรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรี; โปรดดู ความเห็นในการ
                    วินิจฉัยส่วนตน คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 121 – 122; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 43; คดีพรรค
                    พลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 49 – 50; และโปรดดู Patricia Leopold, O. Hood Phillips & Jackson:
                    Constitutional and Administrative Law, (London: Sweet & Maxwell, 8  ed., 2001) น. 351 – 355;
                                                                         th
                    ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่า เป็นการอธิบายที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องความรับผิดทางการเมืองเช่น การถูกอภิปรายและลงมติ
                    ไม่ไว้วางใจ และแนวคิดความรับผิดทางกฎหมายหรือไม่
   286   287   288   289   290   291   292   293   294   295   296