Page 296 - kpi12821
P. 296

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   ข้อเท็จจริง เหล่านั้น อันวิญญูชนทั่วไปพึงรับรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงความแตกต่างใน

                   ประการต่างๆ ข้างต้นได้โดยง่าย เช่นเดียวกันกับการประเมิน “นัยสำคัญ” ของความ
                   แตกต่างดังกล่าวเหล่านั้น 76


                             ดังนั้น จึงเห็นว่า การตีความมาตรา 237 ในลักษณะดังกล่าวไม่สอดคล้อง
                   กับหลักความเสมอภาคซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ในหมวด 1 บททั่วไปในมาตรา 3
                   และในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยในมาตรา 30


                             อนึ่ง อาจมีผู้โต้แย้งว่า หลักความเสมอภาคย่อมตกอยู่ภายใต้หลักความ
                                               77
                   จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ  ซึ่งกรณีมาตรา 237 วรรคสองนี้ก็เข้าด้วยหลัก
                   ดังกล่าว ดังเช่นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งขจัดการทุจริตเลือกตั้งอันเป็นปัญหา
                   เรื้อรังของการเมืองไทยย่อมเป็นประโยชน์สาธารณะที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่กระนั้นก็ดี

                   แม้ว่าโดยหลักการ ผู้เขียนเห็นพ้องด้วยในเรื่องความจำเป็น แต่ความจำเป็นดังกล่าวจะ
                   ได้สัดส่วนกับภาระหน้าที่ที่ตกอยู่แก่ปัจเจกชนผู้รับผลกระทบหรือไม่นั้น จะได้วิเคราะห์
                   ไว้ในหัวข้อต่อไป


                        3.5 การตีความให้มีผลเป็นการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                           กรรมการบริหารพรรคการเมืองทุกคนขัดต่อ

                           หลักความได้สัดส่วน

                             แน่นอนว่า การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งย่อม

                   ทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการขจัดผู้ทุจริตออกจากระบบการเมืองไทยได้ และก็มีความ
                                                                                78
                   จำเป็นเช่นนั้นจริง อีกทั้งระยะเวลาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี หรือ 10 ปี  ก็มิใช่ระยะ
                   เวลาที่ยาวนานเกินไป จนไม่ได้สัดส่วนระหว่างพฤติการณ์และความร้ายแรงของ
                   การกระทำผิดกับบทลงโทษที่กระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้น


                      76   อันที่จริง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งคือ นายจรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งเป็นกรรมาธิการยกร่าง
                   รัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย ก็เคยจำแนกความแตกต่างของพฤติการณ์เหล่านี้เทียบไว้ต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
                   เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550; โปรดดู สมคิด เลิศไพฑูรย์, การยุบพรรคการเมืองในประเทศไทย หนังสือที่ระลึก
                   68 ปี รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร, อ้างแล้ว, น. 56 – 57;

                      77   ความจำเป็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมนั้นถือเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่า การเลือกปฏิบัติใด เป็นการเลือก
                   ปฏิบัติที่เป็นธรรม หรือไม่เป็นธรรม; ผู้สนใจโปรดดู สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมายรัฐธรรมนูญ: หลักการใหม่ตาม
                   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
                   2548) น. 79.

                      78   โปรดดู ร.ธ.น., ม. 237 วรรคสอง, พรบ. พรรคการเมือง 2550, ม. 98, และ พรป. การเลือกตั้ง ส.ส. และ
                   การได้มาซึ่ง ส.ว. 2550, ม. 137, ม. 139 – 145, ม. 148, ม. 151 – 152, และ ม. 156 – 157.
   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301