Page 295 - kpi12821
P. 295
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
73
จะได้การปฏิบัติที่เหมือนกันมิได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้รัฐใช้อำนาจกระทบสิทธิเสรีภาพ
ของบุคคลได้ตามอำเภอใจ กรณีเช่นนี้ย่อมถือว่า บุคคลย่อมมีสิทธิในความเสมอภาค
(Right to Equality) ใช้ยันรัฐและผูกพันการใช้อำนาจรัฐของทุกองค์กร รวมทั้งองค์กร
ตุลาการ ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมต้องผูกพันการใช้อำนาจอธิปไตยในทางตุลาการของศาล
รัฐธรรมนูญด้วย เพราะบุคคลต่างๆ ล้วนแล้วแต่มี “...มีสิทธิเรียกร้องกับการให้รัฐใช้
กฎหมายที่ตรงกับกรณีของตน” 74
การที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 วรรคสอง
ให้มีผลเป็นการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองทุกคน โดยไม่
คำนึงว่า บุคคลนั้นได้กระทำผิดหรือไม่ บุคคลนั้นได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิดหรือไม่
บุคคลนั้นได้ปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำผิดหรือไม่ บุคคลนั้นได้ทราบถึงการกระทำ
ผิดนั้นแล้วมิได้ยับยั้งแก้ไขหรือไม่ บุคคลนั้นไม่รู้ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ปล่อยปละละเลย
มิหน่ำซ้ำยังได้กำชับให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและประฌามการซื้อสิทธิขายเสียง
75
หรือไม่ หรือแม้แต่กรณีที่บุคคลนั้นๆ มิได้มี “การกระทำ” ใดๆ ในทางกฎหมายเลย
แต่ก็ยังคงได้รับผลทางกฎหมายอย่างเท่าเทียม ทุกถ้วนหน้า เสมอกันนั้น ย่อมเป็นการ
ใช้บังคับกฎหมายที่ไม่คำนึงถึงความแตกต่างอันเป็นสาระสำคัญของพฤติการณ์หรือ
73 เป็นการอธิบายตามแนวคิดของ Gerhard Leibholz ซึ่งได้รับการยอมรับโดยศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน;
Gerhard Leibholz, Die GleichheitvordemGesetz, 1. Aufl., 1925, อ้างถึงใน บรรเจิด สิงคะเนติ, เรื่องเดิม,
น. 159; Lord Denning ก็อธิบายเช่นนี้โดยอ้างอิงว่าเป็นคำอธิบายเกี่ยวกับความยุติธรรมในทรรศนะของ
อริสโตเติล; โปรดดู ภาคผนวก: ความเห็นของวิชา มหาคุณ ใน ธานินทร์ กรัยวิเชียร, เรื่องเดิม, น. 65; และโปรดดู
Kenneth W. Simons, “The Logic of Egalitarian Norms,” Boston University Law Review, (Vol. 80,
June, 2000, น. 693 – 771) น. 706 – 709; Thomas Fleiner และ Lidija R. BastaFleiner, Constitutional
Democracy in a Multicultural and Globalised World, (Heidelberg: Springer-Verlag, 2009)
น. 170 – 171.
74 เรียกว่า ความเสมอภาคของการใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน โปรดดู บรรเจิด สิงคะเนติ, เรื่องเดิม,
น. 183; และโปรดดู ร.ธ.น., ม. 4, ม. 26, และ ม. 27; อนึ่ง ในทางกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้มี
การแยกคำอธิบายระหว่างหลักความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย (Equal before the law) ออกจาก การได้รับ
ความคุ้มครองอย่างเสมอภาคตามกฎหมาย (Equal protection of the law) ซึ่งในกรณีหลังนี้รวมถึงการบังคับ
ใช้กฎหมายที่ส่งผลกระทบในทางลบ (adverse effect) ด้วย; โปรดดู Nihal Jayawickrama, Judicial
Application of Human Rights Law : National, Regional, and International Jurisprudence,
(Cambridge: Cambridge University Press) น. 824 – 825; ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า การพิพากษาคดีโดยไม่คำนึงถึง
ข้อเท็จจริงเฉพาะรายเป็นการละเมิดหลักการได้รับความคุ้มครองอย่างเสมอภาคตามกฎหมาย.
75 คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 93 (คำชี้แจงของผู้ถูกร้อง) ซึ่งแม้แต่ศาลเองก็ระบุว่า “เป็นเรื่องที่น่า
เห็นใจอยู่มาก”; โปรดดู น. 99; ความเห็นของศาลเช่นนี้ ทำให้ต้องขบคิดต่อไปอีกว่า กฎหมายกับความยุติธรรม
อะไรสำคัญกว่ากัน; โปรดดู ธานินทร์ กรัยวิเชียร, เรื่องเดิม, น. 36 – 42.