Page 300 - kpi12821
P. 300
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
หลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นหลักการพื้นฐานของหลักนิติธรรมไทย 89
หลักการแบ่งแยกอำนาจที่ยอมรับกันอย่างสากลทั่วไป จะแบ่งลักษณะการ
ใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ลักษณะหรืออีกนัยหนึ่งคือ 3 หน้าที่ อันได้แก่ การใช้
อำนาจกำหนดกฎเกณฑ์ที่มีผลเป็นการทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงกรณีหรือตัวบุคคล หรือ
อำนาจในการออกกฎหมาย การใช้อำนาจบังคับใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปนั้นให้มีผลใช้บังคับ
เฉพาะราย หรืออำนาจบริหาร และสุดท้าย การใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ทั้งข้อ
พิพาทที่มาจากการกระทำของรัฐและที่มาจากการกระทำของเอกชน โดยอาศัย
กฎเกณฑ์ทั่วไปเป็นมาตรวัด หรืออำนาจตุลาการ โดยปกติ อำนาจแรกนั้นมอบหมายให้
รัฐสภาอันประกอบไปด้วยผู้แทนของประชาชนเป็นผู้ใช้ อำนาจที่สองกำหนดให้เป็น
หน้าที่ของคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้จัดการ และอำนาจที่สามถือเป็นหน้าที่
ของศาล แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า การใช้อำนาจทั้งสามลักษณะนี้จะแบ่งแยกกันโดย
90
เด็ดขาด องค์กรหนึ่งๆ อาจใช้อำนาจอื่นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้การใช้อำนาจ
91
หลัก (Primary Function) ของแต่ละองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น คณะ
รัฐมนตรีอาจมีอำนาจในการวางกฎเกณฑ์ทั่วไปในรูปกฎหมายลำดับรองหรือกฎ
(Secondary Legislation) เพื่อให้การทำหน้าที่บังคับใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปอันเป็น
กฎหมายแม่บท (Primary Legislation) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
การใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทก็เช่นกัน โดยหลักเป็นหน้าที่ของ
องค์กรศาล แต่ก็มีอยู่เหมือนกันที่รัฐสภาทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทบางอย่างในวงงาน
92
นิติบัญญัติเสียเอง และยิ่งในยุคปัจจุบันที่สังคมสลับซับซ้อนมากขึ้น บทบาทหน้าที่ของ
หน่วยงานของฝ่ายบริหารในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทก็ยิ่งเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ การใช้
89 แม้รัฐธรรมนูญไทย ม. 3 จะใช้คำว่า “หลักนิติธรรม” ซึ่งเป็นคำแปลที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามาจากคำว่า
“Rule of Law” ของอังกฤษก็ตาม ในประเด็นนี้ ศาตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร เห็นว่า ไม่เหมาะสมที่จะนำ
หลักนิติธรรมของตะวันตกมาใช้ แต่สมควรจะพัฒนาหลักนิติธรรมในแบบของไทยขึ้นมาเอง; ธานินทร์ กรัยวิเชียร,
เรื่องเดิม, น. 19 - 23.
90 ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, เรื่องเดิม, น. 42 - 45; โปรดดู วิษณุ เครืองาม, กฎหมายรัฐธรรมนูญ,
(กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2530) น. 226 - 244; และเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐาน
กฎหมายมหาชนว่าด้วย รัฐ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, พิมพ์ครั้งที่ 4, 2552) น. 243 -270;
91 ศาสตราจารย์ Aharon Barak แห่งมหาวิทยาลัยเยล อดีตประธานศาลฎีกาอิสราเอล อธิบายในทำนอง
เดียวกันว่า “การกำหนดให้องค์กรที่มีหน้าที่หลักอย่างหนึ่งใช้อำนาจในอีกลักษณะหนึ่งด้วยนั้น จะต้องไม่เป็น
อุปสรรคต่อแกนกลาง (Core) ของการปฎิบัติหน้าที่หลักดังกล่าว”; Aharon Barak, เรื่องเดิม, น. 37.
92 เช่น การวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเยอรมัน (Bundesstag) สิ้นสมาชิกภาพหรือไม่ เป็นอำนาจ
ของ Bundesstag เอง แต่ทั้งนี้ อาจอุทธรณ์ต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ตามรัฐธรรมนูญเยอรมัน (Grundgesetz –
Basic Law) มาตรา 41.