Page 286 - kpi12821
P. 286

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   ขอบวัตถุประสงค์ของพรรคการเมืองแล้ว  การกำหนดให้พรรคการเมืองต้องร่วมรับผิด
                                                     38
                   ในการกระทำของผู้สมัครจึงไม่ขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยความรับผิดทางกฎหมาย
                   ของนิติบุคคล

                             อย่างไรก็ดี ส่วนปัญหาว่า เมื่อมีผู้สมัครของพรรคการเมืองกระทำผิดไป
                   แล้ว สมควรจะถือเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคการเมืองดังกล่าวหรือไม่นั้น จะได้วิเคราะห์

                   ไว้ในหัวข้อต่อไป

                        3.2 การสั่งยุบพรรคการเมืองด้วยเหตุฝ่าฝืนกฎหมาย
                           เลือกตั้งนั้น ไม่สอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วน           39


                             แม้ได้วิเคราะห์ไว้ว่า การกำหนดให้พรรคการเมืองต้องร่วมรับผิดในการ
                   กระทำของหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค และผู้สมัคร ส.ส. ของพรรค ไม่ขัดกับ
                   หลักความรับผิดของนิติบุคคลก็ตาม หากแต่ความรับผิดดังกล่าวก็ต้องตกอยู่ภายใต้
                                                                                          40
                   หลักความได้สัดส่วนซึ่งเป็นหลักการย่อยประการหนึ่งของหลักนิติธรรมหรือหลักนิติรัฐ
                   ที่มีค่าบังคับระดับรัฐธรรมนูญ 41

                      38   เทียบจากกรณีลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง; โปรดดู สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, เรื่องเดิม, น. 76 –

                   77; เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง, “การยุบพรรคการเมืองเนื่องจากการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของผู้บริหาร
                   พรรคการเมืองเป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย,”เว็ปไซต์เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย – www.pub-law.net
                   เผยแพร่ครั้งแรก 14 กันยายน 2551 <http://www.pub-law.net/publaw/view.asp?PublawIDs=1276>
                      39   โปรดดู David M. Beatty, The Ultimate Rule of Law, (New York: Oxford University Press,
                   2004) น. 159 – 160, และ น. 171 - 176; Ulrich Karpen, “Rule of Law,” ใน Ulrich Karpen (ed.), The
                   Constitution of the Federal Republic of Germany, (Baden-Baden: Nomos Verlagsgesellschaft,
                   1988), น. 177. Moshe Cohen-Eliya, และ Iddo Porat, “American Balancing And German
                   Proportionality: The Historical Origins,” International Journal of Constitutional Law, (Vol. 8
                   April, 2010, น. 263) น. 271 – 272; ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง,
                   (กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์, 2540) น. 29; อาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า “หลักความพอสมควรแก่เหตุ”; โปรดดู
                   บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพฯ:
                   วิญญูชน พิมพ์ครั้งที่ 2, 2547), น. 32 – 33.
                      40   อนึ่ง ผู้วิจัยตั้งใจใช้คำทั้งสองคำนี้คู่กัน เพราะแม้รัฐธรรมนูญจะใช้คำว่า “หลักนิติธรรม” แต่ผู้เขียนกลับ
                   นิยมใช้คำว่า “หลักนิติรัฐ” มากกว่า นอกจากนี้ แม้ว่าหลักการพื้นฐานหลายๆ ข้อของสองหลักนี้จะเหมือนกัน
                   แต่อันที่จริงก็ยังมีความแตกต่างกันในหลายมิติ; โปรดดูบทวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของสองคำนี้
                   ใน วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม,” เว็ปไซต์เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย – www.pub-
                   law.net, เผยแพร่ครั้งแรก 31 มกราคม 2553 <http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1431&
                   Keyword=%b9%d4%b5%d4%b8%c3%c3%c1> และ N. W. Barber, “The Rechtsstaat and the Rule
                   of Law,” University of Toronto Law Journal, (Vol. 53, No. 4, Autumn, 2003), น. 443-454.
                      41   โปรดดู ร.ธ.น., ม. 29; เทียบ Donald P. Kommers, “Germany: Balancing Rights and Duties,”
                   ใน Jeffrey Goldsworthy, Interpreting Constitutions – A Comparative Study, (New York: Oxford
                   University Press, 2007) น. 201.
   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291