Page 280 - kpi12821
P. 280
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นอย่างอื่นได้ 19
ท้ายที่สุด เมื่อกรณีครบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ตามมาตรา 237 วรรคสองแล้ว
ศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจที่จะสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ทันที เพราะรัฐธรรมนูญ
“ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ
โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา 68” ใน
การนี้ ศาลยังให้เหตุผลโดยการจำแนกคดียุบพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญออกเป็น
2 กรณี ได้แก่ (1) การยุบพรรคการเมืองตามมาตรา 68 เพียงลำพัง และ (2) การยุบ
พรรคการเมืองตามมาตรา 237 วรรคสองประกอบกับมาตรา 68 ซึ่งในกรณีหลังนั้น
ศาลรัฐธรรมนูญสามารถสั่งยุบพรรคการเมืองได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้
พรรคการเมืองเลิกกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและรัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติ
ไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสาม ก่อนแต่อย่างใด 20
อนึ่ง เมื่อมีการสั่งยุบพรรคการเมืองตามมาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ
และมาตรา 103 วรรคสองของกฎหมายเลือกตั้งแล้ว ย่อมส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญต้อง
สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคทุกคนเป็นเวลา
5 ปีโดยอัตโนมัติ เพราะศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ศาลไม่มีดุลพินิจที่จะสั่งเป็นอย่างอื่นได้
แตกต่างจากกรณีการยุบพรรคตามมาตรา 94 (2) ของกฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งศาลมี
ดุลพินิจที่จะรับฟังข้อเท็จจริงและสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและ
กรรมการบริหารพรรคเป็นรายๆ ไปได้ 21
19 โปรดดู คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 96 – 97; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 15 – 16; คดี
พรรคพลังประชาชน, เรื่องเดิม, น. 20 – 21; อย่างไรก็ดี การยึดถือตามข้อเท็จจริงจากการวินิจฉัยของ กกต. ก่อน
การประกาศผลการเลือกตั้งนั้น ถูกวิจารณ์อย่างมากว่า ชอบด้วยหลักกฎหมายและนิติวิธีการตีความกฎหมายหรือ
ไม่; โปรดดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และคณะ, แถลงการณ์ของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฉบับที่ 6, ข้อ 9. < http://www.enlightened-jurists.com/directory/69/statement-6.html> และหัวข้อ
3.6 ในบทนี้ และในรายงานฉบับถัดไป
20 คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 18; แต่กระนั้นก็ดี แม้จะเป็นการดำเนินคดียุบพรรคการเมืองตาม
มาตรา 68 ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่จำต้องสั่งให้มีการเลิกกระทำการอันเป็นการได้มาซึ่งอำนาจโดยวิถีทางนอก
รัฐธรรมนูญก่อน จึงจะสั่งยุบพรรคการเมืองได้แต่อย่างใด; โปรดเทียบ คดีพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย
และพรรคไทยรักไทย, เรื่องเดิม, เล่ม 1 น. 94 – 98.
21 คดีพรรคชาติไทย, เรื่องเดิม, น. 100; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย, เรื่องเดิม, น. 19; คดีพรรคพลัง
ประชาชน, เรื่องเดิม, น. 26; ถ้อยคำในบทบัญญัติดังกล่าว อ่านได้ความเช่นที่ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายไว้จริง แต่ก็มี
ข้อสงสัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการตีความบทบัญญัติดังกล่าวเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หากการตีความนั้นจะสอดคล้องกับหลักนิติธรรมหรือหลักนิติรัฐยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร; โปรดดู
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และคณะ, แถลงการณ์ของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 6,
ข้อ 3, และ 4. <http://www.enlightened-jurists.com/directory/69/statement-6.html> และหัวข้อ 3.7
ในบทนี้